การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงสำหรับงานผู้ประกาศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ โดยเน้นภาระงานร่วมกับการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก นัยจรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.9

คำสำคัญ:

การอ่านออกเสียง, ผู้ประกาศ, การจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงาน, การใช้กรณีตัวอย่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นภาระงานร่วมกับการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับส่งเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียง และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานร่วมกับการใช้กรณีตัวอย่างที่มีต่อความสามารถในการอ่านออกเสียง กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นภาระงานร่วมกับการใช้กรณีตัวอย่าง จำนวน 6 แผน และแบบประเมินความสามารถในการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 พบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นภาระงานร่วมกับการใช้กรณีตัวอย่างสามารถออกแบบขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นศึกษากรณีตัวอย่างและเตรียมการปฏิบัติภาระงาน (2) ขั้นสังเคราะห์ความรู้และปฏิบัติภาระงาน (3) ขั้นหลังการปฏิบัติงานและถ่ายโยงความรู้ ประเมินผลโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริกแอนโนเทตแบบแยกองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ การออกเสียง การใช้อวัจนภาษา และการใช้เสียงสำหรับงานผู้ประกาศ  และผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อ 2 พบว่า ความสามารถในการอ่านออกเสียงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ภาษาไทย

กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. (2556). คู่มืออบรมหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจาย

เสียงและกิจการโทรทัศน์. ส เจริญ การพิมพ์.

ณัฐกิตติ์ นาทา. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน: แนวคิดเพื่อการพัฒนาทักษะทาง

ภาษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 182-202.

นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง อนันต์ ธรรมชาลัย และพิสมัย จารุจิตติพันธ์. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย. วารสารศาสตร์, 15(3), 46-84.

เนติมา บูรพาศิริวัฒน์. (2564). การประยุกต์ใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แอปพลิเคชัน Flipgrid เพื่อส่งเสริมการสนทนาภาษาเกาหลี: กรณีศึกษานักศึกษาสาขาวิเทศศึกษา คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิเทศศึกษา, 11(2), 123-158.

บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และสังวรณ์ งัดกระโทก. (2563). ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินของความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 144-163.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Poranat_Kitroongrueng

_Doctor/fulltext.pdf

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 25). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพย์สุดา ทวีสิทธิ์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศตามแนว

ทางการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมสำหรับนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/63360/

/5983832727.pdf

วัชรีญา วงษ์สุวรรณ์. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนแสดงความคิดเห็นแบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทย. [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. http://ir-ithesis.swu.ac.th

/dspace/bitstream/123456789/812/1/gs581110148.pdf

สุขุมาภรณ์ แคสิค. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อ

การสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. CASE STUDIES

การเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษา. สืบค้น 17 มกราคม 2565, จาก https://active-learning.thailandpod.org/

learning-activities/case-studies.

สาคร แสงผึ้ง. (2546). คู่มือการใช้งานโปรแกรม B-Index & Non Zero-One Method Analysis. สืบค้น

มกราคม 2566, จาก http://www.rtc.ac.th/download/190557.pdf .

อดิศร ภัคชลินท์. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับกรณีศึกษาผ่านเว็บแอปพลิเคชันที่ส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมภาษาซีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2257/1/57257316.pdf

ภาษาอังกฤษ

Willis, D., & Willis, J. (2007). Doing Task-Based Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

นัยจรัญ ข. (2024). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงสำหรับงานผู้ประกาศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ โดยเน้นภาระงานร่วมกับการใช้กรณีตัวอย่างสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), EDUCU5201009. https://doi.org/10.14456/educu.2024.9