การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่เสริมสร้าง สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • Akkarapon Promtrud -
  • Saifon Vibulrangson

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2023.37

คำสำคัญ:

วิธีการแบบเปิด, การประเมินเพื่อการเรียนรู้, สมรรถนะทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิผล  2) ศึกษาผลทดลองใช้ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นสร้างและ
หาประสิทธิผล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ จำนวน 3 สถานการณ์ และ 3) เกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ 2. ขั้นทดลองใช้ โดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 11 คน และ 3. ขั้นศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน โดยสอบถามด้วยแบบสอบถามแบบปลายเปิด ผลวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(M = 4.64, SD = 0.45) และค่าดัชนีประสิทธิผลทุกสมรรถนะมากกว่า 0.5 2) นักเรียนมีพัฒนาการสูงขึ้นทุกสมรรถนะ โดยผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 สร้างความสามารถ ระยะ 2 เกิดความชำนาญ และระยะ 3 เกิดสมรรถนะ ซึ่งสมรรถนะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และอยู่ในระดับดีเยี่ยม และ
3) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า เกิดแรงจูงใจภายใน เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เรียนรู้วิธีการเรียนรู้  เกิดการพัฒนาตนเอง และความรู้พื้นฐานและเจตคติมีผลต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่

References

ภาษาไทย

กษมา เกิดประสงค์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2121-2137.

กฤษฎา ขุนอาจ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับรูปแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิติศักดิ์ ดีพื้น. (2561). สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

คัมภีรภาพ คงสำรวจ, ชนาธิป ศรีโท, แก่นเพชร แฝงสีพล, ธนกร ชูสุขเสริม และวิทูล ทาชา. (2565).

กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองหลังยุคโรคอุบัติใหม่ด้วยโซเชียลมีเดีย. Journal of Buddhistic Sociology, 7(3), 142-154.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข และพรเทพ จันทราอุกฤษฎ์. (2566). การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกลรัชต์ แก้วดี. (2561). การพัฒนาผู้เรียนด้วยการประเมินเพื่อการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 394-409.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (24 มิถุนายน 2565). PISA 2022 กับการประเมินความฉลาด

รู้ด้านคณิตศาสตร์. PISA Thailand. https://pisathailand.ipst.ac.th/infographics-pisa2022-math-framework/.

สรัญญา จันทร์ชูสกุล. (2561). แนวคิด หลักการ และยุทธวิธีการประเมินเพื่อการเรียนรู้. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(1), 14-28.

สุชีรา จันครา บุญเรียง ขจรศิลป์ และชานนท์ จันทรา. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการ GPAS และการประเมินเพื่อการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 196-210.

สุดาพร ติ๊บปาละ. (2563). ผลการใช้รูปแบบการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดร่วมกับการฝึกเชิงพุทธิปัญญาที่ส่งผล

ต่อผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต).

พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สดใส ศรีกุตา. (2557). การใช้การประเมินระหว่างสอนของครูเพื่อปรับการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษา

ชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หนึ่งฤทัย มะลาไวย์, อรพินทร์ ชูชม และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2565). การทำงานเป็นทีมของนักเรียน: ปัจจัยเชิง

สาเหตุ ข้อเสนอแนะในการวิจัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 425-438.

อนุวัติ คูณแก้ว. (2565). การทดสอบ การวัดผล และประเมินผลการศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครพล พรมตรุษ. (2565). การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการแบบเปิด: การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,6(2),61-75.

อันนา วงศ์พัฒนกิจ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).

ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ

Inprasitha, M. (2010). “One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand-Designing Unit”.

In C. S. Cho, S. G. Lee, & Y. H. Choe (Eds.), Proceeding of the 45th Korean National

Meeting of Mathematics Education(pp.193-206). Korea: Dongkook University, Gyeongju.

Niss, M., & Højgaard, T. (2019). Mathematical competencies revisited. Educational Studies in

Math-ematics, 102(1), 9–28. https://doi.org/10.1007/s10649-019-09903-9

Niss, M. & Jensen, T. H. (2002). Competencies, Skills, and Assessment. The Ministry of

Education, Copenhagen Denmark.

Steen, L.A. (2001). Mathematics and democracy: The case for quantitative literacy. Princeton, NJ: National Council on Education and the Disciplines.

Sun, L., & Xiao, L. (2023). An SEM Model of Learning Engagement and Basic Mathematical

Competencies Based on Experiential Learning. Applied Sciences, 13(6), 3650.

Organization for Economic Cooperation and Development (OECD). (2009). Measuring Student

Knowledge and Skills –A new Framework for Assessment. OECD PUBLICATION: France.

. (2019), “PISA 2018 Mathematics Framework”, in PISA 2018 Assessment and Analytical

Framework, OECD Publishing, Paris. DOI: https://doi.org/10.1787/13c8a22c-en.

Patamavipat, S. (2014). Assessment of mathematical literacy of PISA 2015. IPST Magazine,

(188), 35-39. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

Promtrud, A., & Vibulrangson, S. . (2023). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการแบบเปิดร่วมกับการประเมินเพื่อการเรียนรู้ที่เสริมสร้าง สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(4), EDUCU5104010. https://doi.org/10.14456/educu.2023.37