การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนของรัฐที่ตั้งอยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • นูรีตา บินอาหลี สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วรภาคย์ ไมตรีพันธ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.22

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฐานสมรรถนะ, โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา, โรงเรียนของรัฐชายแดนไทย-มาเลเซีย, การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปสู่การปฏิบัติยังเป็นเรื่องใหม่ทั้งในระดับนโยบายและระดับภาคปฏิบัติสำหรับการศึกษาไทย ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา 1) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ 2) องค์ประกอบที่ส่งเสริมหรือขัดขวางความสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ออกแบบการวิจัยโดยใช้กรณีศึกษาโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของรัฐที่ตั้งอยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตและการศึกษาเอกสาร มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 11 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสังเกต แบบศึกษาเอกสารและตัวผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และระยะเวลาในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ.2565 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ.2566 ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนมี 3 ขั้น ได้แก่ 1) การสร้างหลักสูตร ประกอบด้วย 1.1) การอบรมทำความเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะ 1.2) การสร้าง School Concept 1.3) การออกแบบหน่วยการจัดการเรียนรู้ 1.4) การขอความเห็นชอบ 2) การใช้หลักสูตร ประกอบด้วย 2.1) การบริหารหลักสูตร 2.2) การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน 2.3) การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร 3) การประเมินผลหลักสูตรใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ประกอบที่ส่งเสริมความสำเร็จ ได้แก่ สมรรถนะของผู้อำนวยการโรงเรียน และความพร้อมของชุมชน องค์ประกอบที่ขัดขวางความสำเร็จ ได้แก่ การขาดความชัดเจนในการวัดประเมินผลผู้เรียนที่จบหลักสูตร และการขาดความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ของครู ดังนั้นการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาบทบาทของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ

References

ภาษาไทย

กล้า ทองขาว. (2551). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน หน่วยที่ 6 เรื่อง การนำนโยบายไปปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด.

ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ และ ไพโรจน์ ญัติอัครวงศ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 336-347.

นริศรา มากมี และ ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2565). การเตรียมการบริหารหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิจิตร เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 113-127.

พิมพ์กรอง อุปถะ. (2556). การศึกษาปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

รัชนี จันใด. (2557). การศึกษาการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเซนต์โยเซฟระยอง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 200-212.

รัชยา รัตนะถาวร. (2558). รูปแบบการนํานโยบายส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(3), 281-293. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/44711

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเดช จันทร์ศร. (2541). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์).

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ปรินท์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรฐานสมรรถนะ. CBE Thailand. https://cbethailand.com/%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%B0/

สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2565). ความเคลื่อนไหวของเรา: ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. Education sandbox. https://www.edusandbox.com/video-educationalinnovation/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานผลการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายงานการวิจัย). กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อรวลัย ชนะมัจฉา. (2561). การใช้หลักสูตรตามทัศนะของข้าราชการครูในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 16 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อับดุลเลาะ เตะโระ. (2558). ศึกษาสภาพปัญหาการใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มของครู ในโรงเรียนสองระบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ภาษาอังกฤษ

Cheema, G.S., & Rondineli D.A. (1983). Decentralizing Governance: Emerging Concepts and Practices. Planning Theory, 7(3), 336-338.

Edward, G.C. (1980). Implementing public policy. congressional quarterly press.

Oliva, P. F. (2009). Developing the Curriculum (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Sabatier, P., & Mazmanian, D. (1979). The Conditions of Effective Implementation: A Guide to Accomplishing Policy Objectives. Policy Analysis, 5(4), 481–504. https://www.jstor.org/stable/42783358

Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jovanovich.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The policy implementation process: A conceptual framework. Administration & Society, 6(4), 445–488. https://doi.org/10.1177/009539977500600404.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

บินอาหลี น., & ไมตรีพันธ์ ว. . (2024). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนของรัฐที่ตั้งอยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย . วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(2), EDUCU5202005 . https://doi.org/10.14456/educu.2024.22