การพัฒนาการคิดเชิงออกแบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเกมออนไลน์
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2023.39คำสำคัญ:
การคิดเชิงออกแบบ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเกมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงออกแบบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ
เกมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน การคัดเลือกกลุ่มทดลองใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเกมออนไลน์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบการคิดเชิงออกแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t- test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงออกแบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
References
ภาษาไทย
กนกวรรณ เหลืองทอง. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์. สารนิพนธ์(การมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกียรติกำจร กุศล; และ ฐิติพร ปานมา (2554). บทบาทอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา อาจารย์ประจำกลุ่ม และผู้เรียนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning). นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์ดีชัย.
จินตวีร์ คล้ายสังข์; และ ประกอบ กรณีกิจ (2559). การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน แนวการประยุกต์ใช้สำหรับการเรียนแบบผสมผสานอีเลิร์นนิงและออนไลน์เลิร์นนิง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุติมา สรรเสริญ. (2560). การพัฒนาความสามารถการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (วิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฐณิชา เติมสินวาณิช. (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้าน
ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือ.สารนิพนธ์ (การมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดนัยศักดิ์ กาโร. (2562). ปฏิวัติการสอนสู่ห้องเรียน 4.0 ด้วย Google for Education. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันท์นภัส นิยมทรัพท์. (2560). ความรู้พื้นฐานด้านการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โบโน, เอ็ดเวิร์ด เดอ. (2556). สุดยอดทักษะการคิด EDWARD DE BONO. แปลโดย กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.
ปรีชญา สิทธิพันธุ์. (2557,2 มิถุนายน). การพัฒนาทักษะการคิดแบบ Critical Thinking.
เอกสารประกอบการสัมมนาการพัฒนาทักษะการคิดแบบ Critical Thinking, ณ ห้อง 409 ชั้น 4
อาคารจามจุรี 9 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภิวัฒน์ ปัณณปาตี. (2557). รวมมิตรคิดเรื่องการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคปฏิบัติจากคนยุคอนาล็อก
ถึงชนรุ่นดิจดทัล. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.
ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานที่ปรากฏอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (ศิลปศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วริษฐา แหวนเพชร และคณะ. (2563). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ใน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดนครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 35(2), 66-77
วันเพ็ญ พิเสฎฐศลาศัย และคณะ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม
เสริมด้วยแผนผังความคิดต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วิทยานิพนธ์ (หลักสูตรและการสอน).
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565, 15 กุมภาพันธ์). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865
ภาษาอังกฤษ
Frima, A., Oktariyant, D., & Febriandi, R. (2021). Pengembangan Media Pembelajaran Online Berbasis Game Edukasi Wordwall Tema Indahnya Kebersamaan pada Siswa Sekolah Dasar.JURNAL BASICEDU, 5(5), 4093-4100. https://www.neliti.com/publications/446529/pengembangan-media-pembelajaran-online-berbasis-game-edukasi-wordwall-tema-indah
Kim, B., Park, H., & Baek, Y. (2009). Not just fun, but serious strategies: using meta-cognitive strategies in game-based learning. Computers & Education, 52(4), 800-810
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.