ความก้าวหน้าด้านการสอนเครื่องสายสากลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2024.30คำสำคัญ:
ความก้าวหน้าด้านการสอน, เครื่องสายสากล, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาบทคัดย่อ
บทความวิชาการชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าด้านการสอนเครื่องสายสากลของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากการศึกษา 1) ด้านหลักสูตร พบว่า เริ่มต้นเป้าหมายหลักสูตรเพื่อผลิตครู ต่อมาผลิตนักดนตรีอาชีพ ส่วนเครื่องสายสากลเปิดสอนมาตั้งแต่ต้น 2) ด้านผู้สอน พบว่า อาจารย์ประพันธ์ ขวัญประดับ เป็นผู้สอนคนแรกที่นําเครื่องสายสากลเข้ามาบรรจุในหลักสูตร 3) ด้านผู้เรียน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานด้านเครื่องสายสากลมาก่อนจึงเน้นการมาเริ่มเรียนใหม่ 4) ด้านการเรียนการสอน พบว่า เน้นการสร้างผู้เรียนเครื่องสายสากลใหม่ตั้งแต่พื้นฐาน ทั้งการเรียนตัวต่อตัวและการเรียนรวมวง การศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ด้านประวัติศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาการเรียนการสอนเครื่องสายสากลต่อไป
References
ภาษาไทย
กรมศิลปากร. (2549). ก่อนจะมาเป็นเพลง. ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรจง ทองสร้าง. (2562). ๑ ศตวรรษ การฝึกหัดครูมณฑลนครศรีธรรมราช. พิมพการ.
ปุณยนุช ศรีมันตะ. (2560). “สานสายใยพี่น้องเอกดนตรีสงขลา” [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]
ประพันธ์ ขวัญประดับ. (2552). บันทึกไว้ในความทรงจำ. อนุสรณ์งานฌาปนกิจ วัดโรงวาส อ.เมือง จ.สงขลา.
มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. (2535). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เล่มที่ 16). https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=16&chap=7&page=t16-7-infodetail02.html
สนอง คลังพระศรี. (2564, 12 ตุลาคม). พัฒนาการของวงเครื่องสายฝรั่งในสังคมไทย. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/culture/article_48743
ภาษาอังกฤษ
Stainer, Elizabeth. (1988). Methodology of Theory Building. Sydney: Educology Research Associates.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.