การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้”

ผู้แต่ง

  • Sunaree Feepakproe Phetchabun Rajabhat University
  • Pimravee Srirun Phetchabun Rajabhat University

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2023.34

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดขั้นสูง, ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม,, กระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้”

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ก่อนและหลังการเรียนด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้”
2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน  กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านห้วยสะแก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (M)
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test dependent)

  ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.83 คะแนน และ 18.96 คะแนน โดยคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้” ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (M = 4.87, SD = 0.28)

References

ภาษาไทย

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กัญญารัตน์ โคจร, กันยารัตน์ สอนสุภาพ, และ สมทรง สิทธิ. (2563). การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนวัดแจ่มอารมณ์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 26(1), 67-84.

กาญจนา วงศ์กรด. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การคิดขั้นสูง วิชาภาษาไทยเชิงบูรณาการ โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก PERMA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... (หลักสูตรฐานสมรรถนะ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชวิน พงษ์ผจญ. (2562). แนวคิดในการจัดการเรียนรู้วรณคดีไทยระดับมัธยมศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th 20 มีนาคม 2565.

ธิดา โมสิกรัตน์. (2558). ภาษากับความคิด. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย 1 หน่วย 9-15 (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). สุวีริยาสาส์น.

วิเชียร ไชยบัง. (2564). สอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม. https://www.khrudeegital.com/course/การเรียนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม/สอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม

ภาษาอังกฤษ

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman.

Likert, R.A. (1961). New patterns of management. McGraw-Hill Book Company Inc.

OECD (2019), PISA 2018 Results (Volume I: What Students Know and Can Do. https://www.oecd.org/publications/pisa-2018-results-volume-i-5f07c754-en.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite

Feepakproe, S., & Srirun, P. (2023). การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมร่วมกับกระบวนการ “ชง-เชื่อม-ใช้”. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 51(4), EDUCU5104007. https://doi.org/10.14456/educu.2023.34