การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสอนด้นสดในหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น

ผู้แต่ง

  • ณิชกมล จินดาวัฒน์ Chulalongkorn University
  • ดนีญา อุทัยสุข

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.5

คำสำคัญ:

การด้นสด, นักเรียนเปียโน, หนังสือเรียนเปียโน, หนังสือด้นสด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาการสอนด้นสดสำหรับนักเรียนเปียโนในระดับต้น (Grade 1) และเพื่อศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการด้นสดที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางดนตรี และการนำเสนอเนื้อหาการด้นสดที่พัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีสำหรับนักเรียนเปียโนในระดับต้น งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือเรียนด้นสดสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้นจำนวน 3 เล่ม ได้แก่ 1) Improvisation Workbook G.9 2) Performance Jams และ 3) The Penta Adventure ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์หนังสือแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ 1) ด้านเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบของเนื้อหา ความสำคัญของเนื้อหา และลำดับการนำเสนอ 2) ด้านการสอน ประกอบด้วย การสอนที่ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี  ข้อค้นพบได้ถูกจำแนกตามวัตถุประสงค์การสอน 2 ประเภท คือ หนังสือที่มุ่งพัฒนาทักษะด้นสดด้านทำนอง และหนังสือที่มุ่งพัฒนาทักษะด้นสดด้านเสียงประสาน

References

ภาษาไทย

ขวัญทิชา เชื้อหอม. (2565). การพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับการโค้ชสำหรับนักเรียน

ระดับประถมศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา, 6(1).

เจตนา นาควัชระ หัวหน้าโครงการ, รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, จักรพันธ์ วิลาสินีกุล, ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์,

รังสิพันธุ์ แข็งขัน, กรกช อัตตวิริยะนุภาพ, ดุสิต จรูญพงษ์ศักดิ์, บวร พงศ์ศุภโสภณ. (2547). พลัง

การวิจารณ์: สังคีตศิลป์.

พัชราภรณ์ รัตนวลี. (2562). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการด้นสดสำหรับผู้เรียนเปียโนระดับประถม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สำนักงานวิทยทรัพยากร. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69967

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน: Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 23-37.

ภาษาอังกฤษ

Abeles, H. F., Hoffer, C. F., & Klotman, R. H. (1994). Foundation of music education (2nd ed.). New York: Schirmer.

Aebersold, J. (2000). Jazz Handbook. Jamey Aebersold Jazz. In: Inc.

Anderson, L. W., & Sosniak, LA (Eds). (1994). Bloom's Taxonomy: A forty-year retrospective. Ninety-third Yearbook of the National Society for the Study of Education. In: Chicago: The University of Chicago Press.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (2021). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives. Longman.

Beegle, A., & Bond, J. (2016). Orff Schulwerk. Teaching general music: Approaches, issues, and viewpoints.

Berkowitz, A. (2010). The improvising mind: Cognition and creativity in the musical moment.

Oxford University Press.

Fujiwara, Y. (1986). Improvisation Workbook Grade 9. Yamaha Music Foundation.

Johnson, M. D. (1993). Dalcroze Skills for All Teachers: The Jaques-Dalcroze approach can be a valuable addition to any music teacher's method. Monica Dale Johnson outlines the main tenets of this approach. Music Educators Journal, 79(8), 42-45.

Kanigowski, J. (2019). The Penta Adventure. Play Around Piano.

Kratus, J. (1991). Growing with improvisation. Music Educators Journal, 78(4), 36-40.

London, T. C. (2020). PIANO SYLLABUS Piano & Piano Accompanying Qualification specifications for graded exams 2021–2023

Olson, K. (2006). Performance Jams. The FJH Music Company.

Ostransky, L. (2017). Understand Jazz. Prentice hall.

Randall, M. O. (1993). The history of piano improvisation in western concert music. University of Cincinnati.

Reeves, S., & Walsh, T. (2022). Creative jazz improvisation. Taylor & Francis.

Reeves, S. D. (2007). Creative Jazz Improvisation. New jersey: Pearson Education Inc.

Suzuki, S., & Suzuki, W. (1983). Nurtured by love: The classic approach to talent education. Alfred Music.

Taylor, B. (1982). Jazz Piano: A Jazz History. Unite State: William C. Brown Co. Publishers Inc.

Tyler, R. W. (2013). Basic principles of curriculum and instruction. University of Chicago press.

Tyler, R. W. (2013). Basic principles of curriculum and instruction. University of Chicago press.

Webster, P. R. (2016). Creative thinking in music, twenty-five years on. Music Educators Journal, 102(3), 26-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

จินดาวัฒน์ ณ., & อุทัยสุข ด. (2024). การวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสอนด้นสดในหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), EDUCU5201005. https://doi.org/10.14456/educu.2024.5