พัฒนาการโครงการห้องเรียนดนตรีในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

ผู้แต่ง

  • Sarawut Pakadang Music education, Chulalongkorn University
  • Natthawut Boriboonviree Music Education division, Art Music and Dance Education departure, Faculty of Educaton, Chulalongkorn University

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2024.4

คำสำคัญ:

โครงการห้องเรียนดนตรี, หลักสูตรดนตรี, ห้องเรียนพิเศษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติและที่มาของโครงการห้องเรียนดนตรี และ     2) ศึกษาหลักสูตรและมาตรฐานผู้เรียนของโครงการห้องเรียนดนตรีที่ดำเนินงานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โครงการห้องเรียนดนตรีมีขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีแก่ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาดำเนินงานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บทความวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า โครงการห้องเรียนดนตรี มีที่มาจากการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2560 ต่อมาได้มีแนวคิดที่จะขยายสู่โรงเรียนทั่วประเทศ ปัจจุบันมีโรงเรียนในโครงการทั้งสิ้น 19 โรงเรียน ทั้งห้องเรียนดนตรีไทยและห้องเรียนดนตรีสากล หลักสูตรโครงการห้องเรียนดนตรี พัฒนารายวิชาตามความพร้อมและจุดเน้นตามกรอบโครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ วิชาทักษะดนตรี วิชาทฤษฎีดนตรีและวิชาเทคโนโลยีดนตรี มาตรฐานผู้เรียนในโครงการห้องเรียนดนตรีประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) ด้านทฤษฎีดนตรี 2) ด้านการปฏิบัติเครื่องมือเอก และ 3) ด้านการจัดแสดงดนตรี โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพดนตรีไทย พ.ศ. 2544 (ดนตรีไทย) และเทียบเกณฑ์มาตรฐานของ The Associated Board of the Royal Schools of Music (ABRSM) (ดนตรีสากล)

References

ภาษาไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. สยามสปอรต์ซินดิเคท.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กระทรวงศึกษาธิการ.

จารึก ศุภพงศ์. (2546). การศึกษาการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรดนตรี สำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ

ทางด้านดนตรี : กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริรักษ์ ชูสวัสดิ์. (4 เมษายน 2565). แนวคิดการออกแบบโครงการห้องเรียนดนตรี. (ศราวุธ ผกาแดง, ผู้สัมภาษณ์)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560, 30 พฤศจิกายน). ปฏิบัติการแนวทางการบริหารจัดการ

โครงการห้องเรียนดนตรี. https://www.obec.go.th/archives/88004.

สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แนวทางการขอเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2565. กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลาง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565ก). คู่มือการจัดการเรียนการสอนโครงการห้องเรียนดนตรี.

กลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565ข). รายงานผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนดนตรี

ปีงบประมาณ 2565. กลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565ค). สรุปผลการดำเนินงานโครงการห้องเรียนดนตรีปีงบประมาณ

กลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ.

เอกพงศ์ สิ้นเคราะห์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรแผนการเรียนศิลป์-ดนตรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ตอนปลายตามแนวคิดการจัดหลักสูตรฐานสมรรถนะ : กรณีศึกษาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภาษาอังกฤษ

Wai - Chung Ho. (2014). Music education curriculum and social change: a study of popular

music in secondary schools in Beijing, China. Music Education Research, 16: 3, 267 –

, DOI: 10.1080/14613808.2014.910182.

Mohd Hassan Abdullah. (2017). Music education in Malaysia public school: Implementation

issues and challenges. Journal Pendidikan Bitara Upsi, 1: 1, 29 – 43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

Pakadang, S., & Boriboonviree, N. (2024). พัฒนาการโครงการห้องเรียนดนตรีในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.). วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52(1), EDUCU5201004. https://doi.org/10.14456/educu.2024.4