การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยวิธีการเรียนรู้ผ่านปัญหากับวิธีการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2024.1คำสำคัญ:
ผลการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยมีจุดประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เจตคติทางวิทยาศาสตร์และทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตในรายวิชาชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 90 คน ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบวัดเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์และแบบประเมินทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการเรียนของนิสิตที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ย 58.40 สูงกว่าผลการเรียนของนิสิตที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานค่าเฉลี่ย 54.14 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ย 4.54 สูงกว่านิสิตที่ได้รับ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานค่าเฉลี่ย 3.11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิตที่ได้รับ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีค่าเฉลี่ย 9.24 สูงกว่านิสิตที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 7.32 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
References
ภาษาไทย
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565, 5 กันยายน). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลกัสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565.
ชลธิชา สุรัตนสัญญา ฐานนันท์ มณีกุล วานิช ทองเกตุ สิริพัฒน์ รันดาเว สุรเดช สุวรรณชาตรี และ เอกฉัตร
วิทยอภิบาลกุล. (2561). การพัฒนาเทคนิคการสอนโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์สำหรับนิสิตหลักสูตรนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐานและเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
ประภัสสร กลีบประทุม. (2561). ผลของการจัดการเรียนโดยการใช้กรณีศึกษา ที่มีต่อการเรียนวิชาการพัฒนาภาวะผู้นำและความพึงพอใจต่อการเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร. วารสาร รวมบทความวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ประจำปี 2561, 3(1), 474-482.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2545). กระบวนการเรียนรู้ การเชื่อมโยงและรูปแบบการสอนผ่านเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ปัญหาและถ่ายโยงการเรียนรู้. วารสารวิทยบริการ, 13(1), 1-12.
ปารมี หนูนิ่ม. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาการประเมินและควบคุมคุณภาพอาหาร โดยวิธีการทำปฏิบัติการกับวิธีการเรียนรู้ผ่านโครงงาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3). 124-134.
พเยาว์ ยินดีสุข. และ พิมพันธ์ เดชะคุปต์ (2560). สอนเขียนแผนบูรณาการบนพื้นฐานเด็กเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิดวิธีและเทคนิค การสอน 1. เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2562). การปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามแนวทางของ Outcome-Based Education (OBE). สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วารสารวิชาการ, 5(2), 11-17.
วรรณธิดา ยลวิลาศ. (2562). การสร้างแรงจูงใจในการเรียนด้วยเกมมิฟิเคชัน. วารสารนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อความยั่งยืน, 1(1), 378-391.
วันเพ็ญ สุลง. (2561). การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา เพื่อส่งเสริมการวิเคราะห์ วิชาการบริหารงานคุณภาพในองค์การ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา. (2566). หลักการเบื้องตนของ Outcome-based Education และ Pillars of Education. คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลและประเมินผลคณิตศาสตร์. คุรุสภาลาดพร้าว.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 35-40.
สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรมนัส วงศ์ไทย. (2562). การจัดการเรียนรรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ภาษาอังกฤษ
Johnson, D.W., & Johnson, R.T. (1987). Learning together and alone: Cooperative, competitive, and individualistic. Prentice Hall.
Joyce, B & Weil. (1996). M. Models of Teaching (3rd). ed. Prentice-Hall.
Thomas G. (2011). A Typology for the Case Study in Social Science Following a Review of
Definition, Discourse, and Structure. University of Birmingham.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.