การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2021.61คำสำคัญ:
สมรรถนะดิจิทัล, นักศึกษาครู, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 900 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง .80 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.991 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้ดิจิทัล การใช้งานดิจิทัล การมีปฏิสัมพันธ์และติดต่อสื่อสาร จรรยาบรรณทางดิจิทัล และการจัดการเรียนรู้ แต่ละองค์ประกอบมี 3 ตัวบ่งชี้ และมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ c2 = 97.155 (df = 78, p = .070), c2 /df = 1.246, CFI = .998, GFI = .986, AGFI = .978, RMSEA = .017 และ SRMR = .013 แต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง .889 ถึง .979 แต่ละตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง .755 ถึง .845
References
ภาษาไทย
กณิชชา ศิริศักดิ์. (2559). การวิจัยหลักสูตรวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/
handle/123456789/55685
คุรุสภา. (2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพ
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. http://alumni.rtu.ac.th/doc/Knowledge_performance.pdf
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ. (2560). ยุทธศาสตร์ใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามพระราชดำริ. กระทรวงศึกษาธิการ.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, อารี ชีวเกษมสุข, และ สุภมาส อังศุโชติ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 276-285.
พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 61(2), 76-92.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). ครูไทยกับ ICT [เอกสารอัดสำเนา]. บทความพิเศษในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2556 เรื่อง การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพและการพัฒนาวิชาชีพของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ. (2557). มาตรฐานสมรรถนะหลักในการทำงาน สมรรถนะหลักด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศสมรรถนะความสามารถด้านการใช้ดิจิทัล. http://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/735
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประทศไทย 4.0. http://planning2.mju.ac.th/government/2011111910
4835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา, และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติการวิเคราะห์สําหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL (พิมพ์ครั้งที่ 3). เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี.
https://www.eqd.cmu.ac.th/Curr/doc/mua/announce/Digital%20competencies%20for%20undergraduate%20qualifications.pdf
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). 25 Elements digital competency. https://www.dlbaseline.org/digital-competency
ภาษาอังกฤษ
Bentler, P. M., & Chou, C. P. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods and Research, 16(1), 78-117.
Calvani, A., Cartelli, A., Fini, A., & Ranieri, M. (2009). Models and instruments for assessing digital competence at school. Journal of E-Learning and Knowledge Society, 4(3), 183-193.
Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. Sage.
DQ Institute. (2017). Digital intelligence (DQ) a conceptual framework & methodology for teaching and measuring digital citizenship. DQ Institute.
Gagne, P., & Hancock, G. R. (2006). Measurement model quality, sample size, and solution propriety in confirmatory factor analysis. Multivariate Behavioral Research, 41(1), 65–83.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Prentice Hall.
Krumsvik, R. J. (2008). Situated learning and teachers’ digital competence. Education and Information Technology, 13(4), 279-290.
World Health Organization. (2021). Rolling updates on coronavirus disease (COVID-19). https://www.who.int/
emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/events- astheyhappen.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.