การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยฐานะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน

ผู้แต่ง

  • Piamwiriyawong, P. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Sumettikoon, P. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2021.55

คำสำคัญ:

การประเมินผลการปฏิบัติงาน, วิทยฐานะ, คุณภาพนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยฐานะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ PNIModifiedในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า  สภาพปัจจุบันของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.09) สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (M = 4.38) สำหรับค่าดัชนี PNIModifiedความต้องการจำเป็นของการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยฐานะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน โดยภาพรวม (PNIModified = 0.420) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประเมินความประพฤติในการรักษาวินัย มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านงานวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารแผนงานและงบประมาณการบริหารงานทั่วไป และผลการปฏิบัติงานตามภาระงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ด้านการประเมินคุณธรรมจริยธรรม ด้านการประเมินความรู้ความสามารถ  และด้านการประเมินจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามลำดับ

Author Biographies

Piamwiriyawong, P., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Sumettikoon, P., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

ภาษาไทย
ฆนัท ธาตุทอง. (2552). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เพชรเกษมการพิมพ์.
ชนาธิป ทุ้ยแป. (2551). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน :
การประยุกต์ใช้การประเมินผลที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ตามระดับความเชี่ยวชาญ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2547). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. แอคทีฟ พริ้นท์.
ดิเรก พรสีมา. (2547, 15 ธันวาคม). การเลื่อนวิทยฐานะเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน. เดลินิวส์, 15.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. แอล. ที. เพรส.
ปิยะธิดา ทองอร่าม. (2552). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนตามแนวคิด
ของการประเมินอิงมาตรฐานและการให้ผลตอบแทนตามสมรรถนะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรร ธงยศ. (2553). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานวิจัยโดยประยุกต์แนวคิดแผนที่ผลลัพธ์: กรณีศึกษาคณะ
ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2550). เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะครูสร้างบรรทัดฐานยึดจรรยาบรรณวิชาชีพอุทิศตัวเพื่อนักเรียน.
ครูไทย.info. http//www.kruthai.info/finds/view.php?No=375
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา [เอกสารอัดสำเนา]. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(พิมพ์ครั้งที่ 3). ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. สำนักงาน ก.ก. http://134.236.224.58/pbnpoe/admin/source/2548/v4825-ว25-ปี2548-หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูฯมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ.pdf

ภาษาอังกฤษ
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). Harpen & Row.
Gander, S. L. (2006). Beyond mere competency: measurement proficiency with outcome proficiency indicator scales. Performance Improvement, 45(4), 38-44.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-15

How to Cite

เปี่ยมวิริยวงศ์ ป., & สุเมตติกุล ป. (2021). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิทยฐานะเพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(3), EDUCU4903016. https://doi.org/10.14456/educu.2021.55