ความสัมพันธ์ระหว่างความคล่องแคล่วในการทำงานของมือและความเร็วในการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2021.48คำสำคัญ:
ความคล่องแคล่วในการทำงานของมือ, ความเร็วในการเขียน, นักเรียนบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคล่องแคล่วในการทำงานของมือและความเร็วในการเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ cross sectional study การสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน โรงเรียนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบทดสอบความคล่องแคล่วในการทำงานของมือ ประกอบด้วย 4 แบบทดสอบย่อย คือ การย้ายหมุดโดยใช้มือเดียว การย้ายหมุดโดยใช้สองมือ การย้ายหมุดภายในมือ และ การย้ายหมุดโดยใช้อุปกรณ์ และ
2) แบบทดสอบความเร็วในการเขียนของแบบประเมินความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ความคล่องแคล่วในการทำงานของมือกับความเร็วในการเขียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยความเร็วในการเขียนมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (เรียงจากมากไปน้อย) กับการย้ายหมุดโดยใช้สองมือ (r = -.465), และการย้ายหมุดโดยใช้อุปกรณ์คีม (r = -.348) และ การย้ายหมุดภายในมือ (r = -.305), และมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ (r = -.202) กับการย้ายหมุดโดยใช้มือเดียว
References
กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2548). การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. ใน ประกาย จิโรจน์กุล (บก.), การวิจัยทาง
การพยาบาล : แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ (น. 85-114). โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
นิภา ศรีไพโรจน์. (2531). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศึกษาพร.
นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์, ธีรภัทร์ ปัญญานนท์, และ ดาราณี สาสัตย์. (2560). การพัฒนาแบบทดสอบความคล่องแคล่วใน
การทำงานของมือสำหรับนักเรียน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เนตรทราย ทองจำรัส (2553). ความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นแบบวัดซ้ำของแบบประเมินความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เบญจรัตน์ นุขนาฏ์. (2553). พัฒนาการของนักเรียน 6 – 12 ปี. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.
ผกาวรรณ สิทธิวงศ์. (2551). กิจกรรมบำบัดและการส่งเสริมทักษะพื้นฐานการเขียน (ตอนที่ 1). วารสารราชานุกูล, 23(3),
53-57.
ศศิธร สังข์อู๋. (2559). พัฒนาการและความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตในวัยเรียน. เอกสารประกอบ
การสอน กระบวนวิชา 513114. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อลิษา นันตา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วในการเขียนอักษรไทยและอักษรอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 – 3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาษาอังกฤษ
Amundson, S. (2005). Prewriting and handwriting skills. In J. Case-Smith (Ed.), Occupational therapy for children (5th ed) (pp. 587-614). Mosby Elsevier.
Bruni, M. (2006). Fine motor skills for children with down syndrome. Woodbine House.
Cohen, J. W. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed). Lawrence Erlbaum Associates.
Klein, S., Guiltner, V., Sollereder, P., & Cui, Y. (2011). Relationships between fine-motor, visual-motor, and visual perception scores and handwriting legibility and speed. Physical & Occupational Therapy in Pediatrics, 31(1), 103-114. http://doi.org/10.3109/01942 638.2010.541753
Omar, M. T. A., Alghadir, A. H., Zafar, H., & Al Baker, S. (2018). Hand grip strength and dexterity function in children aged 6 - 12 years: A cross-sectional study. Journal of Hand Therapy, 31(1), 93-101.
Sartorio, F., Bravini, E., Vercelli, S., Ferriero, G., Plebani, G., Foti, C., & Franchignoni, F. (2013). The functional dexterity test: Test–retest reliability analysis and up-to date reference norms. Journal of Hand Therapy, 26(1), 62-68.
Simons, J. (2014). Reliability of the detailed assessment of speed of handwriting on flemish children. Pediatric Physical Therapy, 26(3), 318-324. Doi:10.1097/PEP.0000000000000050
Tseng, M. H., & Chow, S. M. K. (2000). Perceptual-motor function of school-age children with slow handwriting speed. American Journal of Occupational Therapy, 54(1), 83–88.
DOI:10.5014/ajot.54.1.83
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.