การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ระหว่างผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกันในการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์: การประยุกต์ใช้ RISE Model

ผู้แต่ง

  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • โชติกา ภาษีผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์, การให้ข้อมูลย้อนกลับแบบทันที, การทดสอบโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ของผู้สอบจำแนกตามระดับความสามารถของผู้สอบและรูปแบบของข้อมูลย้อนกลับที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถของผู้สอบและรูปแบบข้อมูลย้อนกลับที่มีผลต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ในประเทศไทย 7 โรงเรียน คิดเป็นนักเรียน 786 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สอบในกลุ่มสูงมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯ สูงที่สุด (M = 6.80, SD = 1.054) รองลงมา คือ กลุ่มปานกลางมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาในระดับปานกลาง (M = 5.43, SD = 1.258) และกลุ่มต่ำที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาต่ำที่สุด (M = 2.35, SD = 2.033)  2) ความสามารถของผู้เรียน (group) และรูปแบบข้อมูลย้อนกลับ (feedback) มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯ หลังการได้รับข้อมูลย้อนกลับ (F = 5.891, Sig = 0.000) โดยผู้สอบที่มีระดับความสามารถแตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม (สูง ปานกลาง และต่ำ) ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแตกต่างกันทั้ง 5 รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฯแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ภาษาไทย
นนทกร อรุณพฤกษากุล. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 (น. 361-370). กาฬสินธุ์: ประเทศไทย.
ประกอบ กรณีกิจ และ จินตวีร์ มั่นสกุล คล้ายสังข์. (2556). รูปแบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานโดยใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ แบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ส่งเสริมความใฝ่รู้และความคงทน ในการจำของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 66-82.
พรรณทิพา ศรีโชติ. (2556). ขับเคลื่อนประเทศไทย ก้าวสู่มิติใหม่การประเมินผลทางการศึกษา (Assessment). สืบค้นจาก https://www.facebook.com/notes/puntipa-srichot
สุชาฎา คล้ายมณี. (2558). ผลการให้ข้อมูลย้อนกลับต่อการปฏิบัติ กิจกรรม 5ส หอพัก ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, 20(1), 67-68.
สรรเสริญ วีระพจนานันท์. (2557). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาพันธุศาสตร์ของเมนเดล วิชาชีววิทยา 5 ด้วยตารางพันเนตต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนแม่วงก์พิทยาคม. สืบค้นจาก www.sns.ac.th/vichakarn/word/114.doc.

ภาษาอังกฤษ
Attali, Y. (2011). Immediate feedback and opportunity to revise answers: Application of a graded response IRT model. Applied Psychological Measurement, 35(6), 472-479.
Attali, Y. (2015). Effects of multiple-try feedback and question type during mathematics problem solving on performance in similar problems. Computers and Education, 88, 260-267.
Eberlein, M. (2010). The effects of feedback on self-assessment. Bulletin of Economic Research, 63(2), 177-199.
Gouli, E., Gogoulou, A., & Grigoriadou, M. (2008). Supporting self-, peer-, and collaborative- assessment in e-learning: The case of the peer and collaborative assessment Environment (PECASSE). Journal of Interactive Learning Research, 19(4), 615-647.
Shute, V. J. (2008). Focus on formative feedback. Educational Testing Service, 78(1), 153-189.
Van der Kleij, F. M., Eggen, T. J. H. M., Timmers, C. F., & Veldkamp, B. P. (2012). Effects of feedback in a computer-based assessment for learning. Computers and Education, 58(1), 263-272.
Wray, E. (2013). RISE model. Retrieved from http://www.emilywray.com/rise-model
Yastibas, G. C., & Yastibas, A. E. (2015). The effect of peer feedback on writing anxiety in Turkish EFL (English as a foreign language) students. Procedia Social and Behavioral Sciences, 199(2015), 530-538.
Zhang, F., Zhang, X., Luo, M., & Geng, H. (2016). The effects of feedback on memory strategies of younger and older adults. PLOS ONE, 11(12), 1-18. doi:10.1371/journal. pone.0168896

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

มาสันเทียะ จ., ภาษีผล โ., & ตังธนกานนท์ ก. (2019). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ระหว่างผู้สอบที่มีความสามารถแตกต่างกันในการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์: การประยุกต์ใช้ RISE Model. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 145–163. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/232002