การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, การเรียนรู้ตามสภาพจริง, การคิดเชิงระบบบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยในการดำเนินการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงและการคิดเชิงระบบ และระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกำหนดปัญหาหรือสถานการณ์ในชีวิตจริง ขั้นศึกษาข้อมูลของสถานการณ์หรือปัญหากำหนดให้ ขั้นลงมือปฏิบัติและแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นหาข้อสรุปทั่วไปที่เป็นแบบแผน และขั้นประยุกต์และขยายองค์ความรู้ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ผลการสอบวัดคุณภาพระดับชาติ ปี 2560. สืบค้นจาก http://bet.obec.go.th/nt/(Country).html.
ภาษาอังกฤษ
Centre for Strategic Management, Architects in Strategic & Social Charge. (1999). Systems thinking and learning: Executive briefing and seminar. San Diego: Pleasantville Press.
Gardner, B. H., & Demello, S. (1993). System thinking in action. Health Care Forum Journal, 36(4), 25-28.
Kambiz, E. M. (2004). Links between systems thinking and complex decision making. System Dynamics Review, 20(1), 21-48.
Lombardi, M. M. (2007). Authentic learning for the 21st century: An overview. In D. G. Oblinger (Ed.), Educause learning initiative. Advancing learning through IT innovation (pp. 1-12). Louisville, CO: EDUCAUSE.
Lynn, C. (1993). Some factors that impede or enhance performance in mathematical problem solving. Journal for Research in Mathematics Education, 24(2), 167-171.
Morse, J. (1997). The assessment of authentic performances and products in a middle school classroom. Retrieved from https://elibrary.ru/item.asp?id=5537277
National Council of Teachers of Mathematics [NCTM]. (1989). “Curriculum and evaluation standards for school mathematics. Reston, VA: NCTM
Oers, B., & Wardekker, W. (1999). On becoming an authentic learner: Semiotic activity in the early grades. Journal of Curriculum Studies, 31(2), 229-249.
Ploya G. (1987). On learning, teaching, and learning teaching. In F.R. Curcio (Ed.), Teaching and learning: A problem solving focus. Reston, VA: NCTM
Reeves, T. C. (2002). How do you know they are learning?: The importance of alignment in higher education. International Journal of Learning Technology, 2(4), 302–304.
Rule, A. C. (2006). Editorial: The components of authentic learning. Journal of Authentic Learning, 3(1), 1-10.
Senge, P. M. (2006). The fifth discipline field book: The art & practice of learning organization. London: Random House Business.