การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามนโยบายโรงเรียนนำร่อง หลักสูตรฐานสมรรถนะของกระทรวงศึกษาธิการ
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2024.27คำสำคัญ:
ดนตรีศึกษา, การจัดการเรียนรู้ดนตรี, หลักสูตรฐานสมรรถนะ, วิชาดนตรีฐานสมรรถนะ, หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามนโยบายโรงเรียนนำร่องหลักสูตรฐานสมรรถนะของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ครูดนตรีโรงเรียนรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการนำร่องหลักสูตรฯ กำหนดให้เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 3 คน ทำการเลือกแบบเจาะจง ใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ผลข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบภายหลังออกจากภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่าสภาพการจัดการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เนื้อหาสาระ และ 4) บริบทสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ที่เหมือนและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การคำนึงถึงการจัดการเรียนรู้ดนตรีเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลักและย่อย การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ดนตรีฐานสมรรถนะตามนโยบายของแต่โรงเรียน เป็นต้น ทุกประเด็นส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ดนตรีในชั้นเรียนตั้งแต่เริ่มจนถึงการวัดประเมินผลสามารถเห็นถึงสภาพการจัดการเรียนรู้และปฏิบัติการในชั้นเรียนของโรงเรียนนำร่องที่สะท้อนภาพสำคัญทั้ง 4 ด้าน สัมพันธ์กันเกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติเกิดกองทุนความรู้ทางวัฒนธรรม อีกทั้งสะท้อนประเด็นด้านความเชื่อว่าด้วยความรู้ภายใต้หลักสูตรฐานสมรรถนะ ผลการวิจัยยังอาจเป็นประโยชน์เพื่อต่อยอดสำหรับศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในระดับที่กว้างและเชิงลึกมากยิ่งขึ้นในเชิงหลักสูตรและการสอนภายใต้ขอบเขตของดนตรีศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย
References
ภาษาไทย
กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา . สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565. https://lamphuncity.go.th/document/ประกาศเทศบาลเมืองลำพูน-7/
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนา กรอบการดำเนินงานหลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565. https://cbethailand.com/รายงานฉบับสมบูรณ์การศึ/
โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน CBE Thailand. (2565). บทนำ เหตุผลและความจำเป็นของการปรับหลักสูตร. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565. https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/บทนำ/
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษาหลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). อนาคตของครุศึกษาไทยกับการสร้างความฉลาดรู้. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 1-7.
รัตนะ บัวสนธ์. (2558). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.
วิษณุกร นามมุงคุณ ไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ และ Fang-Ying Yang. (2020). ความเชื่อว่าด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 37-49.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). กรอบหลักสูตร: แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ สาระการเรียนรู้ศิลปะ. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565. https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/ช่วงชั้นที่-1/แนวทางการจัดการเรียนรู/ศิลปะ/แนวทางการจัดการเรียนรู/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (ม.ป.ป.). รายงานเฉพาะเรื่องที่ ๑๒หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานการวิจัยเรื่องการทดลองใช้กรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565. https://cbethailand.com/wp-content/uploads/2022/02/4.ศิลปะ-ชช.-1-28.01.65.pdf
สุวัฒนา สงวนรัตน์ และ ชวน ภารังกูล. (2564) หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในสถานศึกษา. The Journal of Sirindhornparithat, 22(2), 351-364.
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทางด้านดนตรีในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 17(2), 37-48.
ภาษาอังกฤษ
Murillo, R. E. (2017). The 21st century elementary music classroom and the digital music curriculum: a synergism of technology and traditional pedagogy. Texas Music Education Research, 14, 27.
Steiner, E. (1988). Methodology of theory building: educology. Sydney: Research Associates.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.