การวิเคราะห์วาทกรรมว่าด้วยการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของไทย DISCOURSE ANALYSIS OF CIVIC EDUCATION IN THAILAND
Keywords:
มิเชล ฟูโกต์, วาทกรรม, การวิเคราะห์วาทกรรม, การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง, หน้าที่พลเมือง, MICHEL FOUCAULT, DISCOURSE, DISCOURSE ANALYSIS, CIVIC EDUCATION, CIVIL RESPONSIBILITYAbstract
บทความนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) โดยใช้แนวคิดจากนักสังคมวิทยาหลังสมัยใหม่ คือ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงการช่วงชิงการนำของวาทกรรมหลัก (Dominant Discourse) ที่ครอบงำการเมืองการปกครองของทั้งโลก คือ วาทกรรมอุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์นี้ ได้แก่ วาทกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองวาทกรรมชุดนี้ได้สร้างความรู้และความจริงให้กับสังคมไทย โดยการเก็บกด/ปิดกั้นอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมืองอื่นๆ เช่น คอมมิวนิสต์ ไม่ให้มีบทบาทในสังคม โดยผ่านระบบการศึกษา ซึ่งถือเป็นภาคปฏิบัติการของวาทกรรม (Discourse Practices) โดยสะท้อนผ่านกฎหมายแม่บททางการศึกษาตั้งแต่แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 จนถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
This article has been analyzed by the discourse analysis approach by postmodernist, Michel Foucault is a baseline analysis to reveal
the dominant discourse that dominated political discourse of the world is Democracy and sub-discourse is Civic Education. This
discourse has revealed the knowledge and the truth to Thai society by suppressing or blocking ideological absolutism and political
ideologies such as Communism not to take a role in society through education system. This is a discourse practices by reflecting
the legislative plans of education since 2475 B.E. to The National Education Act of 2542 B.E.