หลักสูตรอนุบาลโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย : ช่างสังเกต ช่างคิด เป็นตัวของตัวเอง SATIT CHULA KINDERGARTEN CURRICULUM FOR EARLY –CHILDHOOD DEVELOPMENT: OBSERVANT, THOUGHTFUL, SELF-CONFIDENT

Authors

  • อรอุมา ขำวิจิตร์

Keywords:

หลักสูตรอนุบาล, ปฐมวัย, ช่างสังเกต, ช่างคิด, เป็นตัวของตัวเอง, EARLY-CHILDHOOD EDUCATIONAL CURRICULUM, KINDERGARTEN, OBSERVANT, THOUGHTFUL, SELF-CONFIDENT

Abstract

หลักสูตรอนุบาลสาธิตจุฬาฯ ริเริ่มโดยภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงความสำคัญของช่วงวัยแห่งการเสริมสร้างบุคลิกภาพและทัศนคติที่สำคัญของเด็ก จึงจัดโครงการทดลองสอนชั้นอนุบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 และโอนให้เป็นระดับชั้นหนึ่งของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ในปีการศึกษา 2520 หลักสูตรอนุบาลสาธิตจุฬาฯ ได้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรากฐานสำคัญแก่การดำรงชีวิตในอนาคตของเด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงหลักการเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ให้ความสำคัญในด้านการอบรมและปลูกฝังมโนธรรม มีจริยธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่มุ่งเน้นการสอนหนังสือ เตรียมทักษะที่จำเป็นเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ฝึกให้เด็กปฐมวัยมีคุณสมบัติสำคัญเพื่อการเรียนรู้ 3 ประการ คือ เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด และเป็นตัวของตัวเอง โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก กำหนดระยะเวลาของหลักสูตร 3 ปี มีการจัดเนื้อหาแบ่งเป็นรายหัวข้อ แต่จะมีการผนวกกันของรายวิชาโดยวิธีการบูรณาการ ผสมผสานด้วยวิธีการสอนที่มีความหลากหลายและสามารถยืดหยุ่นได้ มีแนวการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกชนิด เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงความคิดโดยเสรี และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

 

The kindergarten curriculum was first established by the Faculty of Education at Chulalongkorn University.  Being aware of the importance of early-childhood education, the Faculty of Education set up the experimental project of kindergarten in 1971. Then the project was converted to the kindergarten level of Chulalongkorn University Demonstration Elementary School (Satit Chula) in 1977.  Through Satit Chula’s kindergarten curriculum, young children are nurtured by experiential learning, which is an essential foundation for their future.  The curriculum is designed to prepare young children to get ready in all areas, namely intellectual, physical, mental, emotional and social development. Moreover, it instills conscience and morality into young children. It also gives them fundamental knowledge of technology. The kindergarten of Chulalongkorn University Demonstration Elementary School (Satit Chula) does not focus on teaching, but it emphasizes on preparation skills, which are needed for higher learning.  Satit Chula kindergarten nurtures young children to acquire three important qualities for learning, namely being observant, thoughtful and self-confident. Its curriculum is designed to be suitable for young children aged over a period of three years. The curriculum is divided into topics in order to flexibly adjust for teaching.  All topics are consistent with the elementary curriculum and are integrated into the elementary school’s subjects. There is a variety of teaching methods used by the kindergarten teachers. The young children are stimulated to participate in all experiential learning and activities with awareness of individual differences. In addition, the young children are given an opportunity to think freely and express their views openly.

Author Biography

อรอุมา ขำวิจิตร์

อาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

Downloads

Published

2017-05-16

How to Cite

ขำวิจิตร์ อ. (2017). หลักสูตรอนุบาลโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย : ช่างสังเกต ช่างคิด เป็นตัวของตัวเอง SATIT CHULA KINDERGARTEN CURRICULUM FOR EARLY –CHILDHOOD DEVELOPMENT: OBSERVANT, THOUGHTFUL, SELF-CONFIDENT. Journal of Education Studies, 44(3), 328–340. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/86587