การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาผ่านกระบวนการประสานพลังบ้าน โรงเรียน ชุมชน ตามแนวคิดของ Epstein Developing the Teaching Process for Graduated Student through Coordination of Family, School and Community based on Epstein Approach

Authors

  • อัญญมณี บุญซื่อ

Keywords:

การประสานพลังชุมชน, มุมประสบการณ์, เด็กวัยอนุบาล, แนวคิด Epstein, การพัฒนานิสิตระดับบัณฑิตศึกษา, Community Partnership, Learning Centers, Kindergarteners, Epstein Approach, Graduated Student Development

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการฝึกนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในการนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติผ่านกระบวนการประสานพลังบ้านโรงเรียนชุมชนตามแนวคิดของ Epstein และเพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่ชนบทที่แตกต่างโดยเน้นการสร้างความร่วมมือในการทำงานระหว่างนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและชุมชนในการจัดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กวัยอนุบาลบนฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วย นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนขาดแคลนจำนวน 11 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตลักษณะของการประสานพลังบ้าน โรงเรียน และชุมชน ตามแนวคิดของ Epstein และการสัมภาษณ์นิสิตที่ลงพื้นที่ศึกษาร่วมกับผู้วิจัย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จันทบุรี และสุรินทร์ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลดัวยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าต่างสถานที่ทำวิจัย ต่างวิธีการเก็บข้อมูล และต่างผู้ให้ข้อมูล

ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) กระบวนการลงพื้นที่กับสถานศึกษาปฐมวัยในชุมชนพัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 3 แบบตามผู้นำการขับเคลื่อนชุมชน คือ (1) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นแกนหลัก (2) ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นแกนหลัก และ (3) ชุมชนเป็นแกนหลักการดำเนินการ และการมีส่วนร่วมของนิสิตกับชุมชน ในแต่ละแบบจะมีลักษณะเฉพาะตามแต่ละบริบทของพื้นที่ และองค์ประกอบของการดำเนินงาน ทำให้การออกแบบกระบวนการต่างๆ ต้องคำนึงถึงสภาพบริบทของพื้นที่ด้วย  2) การใช้กระบวนการฝึกปฏิบัติโดยการนำนิสิตลงพื้นที่พัฒนาชุมชน และการดำเนินการทำงานกับชุมชน ทำให้นิสิตได้มีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้การเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงวิชาการในการแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อนำไปสู่การสืบค้น การใช้ทักษะการคิด และให้นิสิตแต่ละคนเป็นผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อเลือกแนวทางการกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และนำไปสู่การพัฒนานิสิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการให้นิสิตดำเนินการร่วมกับชุมชนในขั้นของการวางแผนและการตัดสินใจ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมบนฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองทำให้ชุมชนเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาผลผลิตที่ได้จากการประสานพลังร่วมกัน

 

This study aimed to develop a training from theory to practice for graduated students through the process of a home-school-community partnership under the Epstein approach and to study the effect of the practice in the different rural areas by collaborating between the graduated students and the community’s members for organizing learning centers based on local culture and knowledge. The study design utilised awas multi-case study method. The cases consisted of 11 graduated students who had enrolled for the Mmaster of Eeducation program in Eearly Cchildhood Eeducation. Observation, interview and field study were conducted in this study to investigate the characteristics of the process of home-school-community integration under the Epstein approach in Ayutthaya, Chantaburi and Surin province. Validitate Tthe content was validated through data triangulation,  through different places, different data collection and different stakeholders.

 The research findings were as follows: 1) The 3 developed processes that could be classified by the key persons in the community consisted of: (1) School administrator;  (2) Head of local administrative organization; and (3) Group of community’s members. The work process and collaboration style between the students and community ’s members of each type had some unique characteristics according to their own community contexts and working factors. Theose characteristics affected to the teaching process design due to the influence of their local contexts. 2) Applying the approach by assigning the students into the fields to develop the communities and work with people in communities encouraged them to participate with others and apply their academic knowledge to deal with the problems together by using the open-ended questions to solve the problems by searching and thinking skills including making a decision by themselves. These processes could guide them to improve their self-learning regulationules from doing their assignments and also help them to develop their skills effectively. 3) The key factor of sustainable development was the assignment for the students to work with the community in the stage of planning and making a decision. In addition, giving an opportunity for the community to participate with graduated students based on their local culture made them learn how to maintainenance the outputs from the process of home-school-community integration.

Author Biography

อัญญมณี บุญซื่อ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-05-16

How to Cite

บุญซื่อ อ. (2017). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาผ่านกระบวนการประสานพลังบ้าน โรงเรียน ชุมชน ตามแนวคิดของ Epstein Developing the Teaching Process for Graduated Student through Coordination of Family, School and Community based on Epstein Approach. Journal of Education Studies, 44(3), 251–266. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/86580