การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (RQ) สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม กรณีศึกษา: ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง Development of Resilience Quotient (RQ) Support Activities Set for Flooded Communities; a Case Study at Gluy Pae sub-district, M

Authors

  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์
  • พงศ์วัชร ฟองกันทา
  • ปณตนนท์ เถียรประภากุล

Keywords:

การส่งเสริมพลังสุขภาพจิต, ชุมชนที่ถูกน้ำท่วม, RESILIENCE QUOTIENT, FLOODED COMMUNITIES

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิต สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม เพื่อนำชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ให้กับประชาชนในชุมชนที่ถูกน้ำท่วม เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ของประชาชนในชุมชนที่ถูกน้ำท่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในชุมชนที่ถูกน้ำท่วมในตำบลกล้วยแพะ  อำเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบสมัครใจ (Volunteer Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินพลังสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นหลังจากการทำกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ร้อยละ 17.98 โดยด้านการจัดการกับปัญหาเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ร้อยละ 18.76 รองลงมาด้านกำลังใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.86 และด้านความมั่นคงทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.12 สำหรับผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตของประชาชน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตพบว่า คะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ มีความแตกต่างกับคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ .05  โดยคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ สูงกว่าคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรมฯ และในรายด้าน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน คะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ มีความแตกต่างกับคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญที่ .05  โดยคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ สูงกว่าคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรมฯ เช่นเดียวกัน

 

This research had the objectives to develop a Resilience Quotient Support Activities Set for flooded communities, to use the developed Resilience Quotient Support Activities Set to support the resilience quotient for flooded communities and to assess the results of the resilience quotient support after using the activities set. The sample group consisted of villagers in a flooded community in the Gluy pae sub-district of Mueang Lampang district totaling 40 persons using the volunteering sampling method.  The tools used in this research were an interview form, a behavioral observation form and the Department of Mental Health, Ministry of Public Health’s Resilience Quotient Evaluation Form. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test.

The findings discovered that 17.98% of the villagers had increased their RQ scores after doing the RQ activities; the Problem Handling facet increased the most at 18.76%, followed by Morale at 17.86% and Emotional Stability at 17.12%. For the results of the villagers’ RQ means comparison before and after using the RQ Promotion Package, it was found that the total RQ after the score difference from the total RQ before score at the statistical significant level of .05 and the after score higher than the before score.  For each facet it was found that in all the three facets, the RQ after scores were also different from the RQ before scores at the statistical significant level of .05 with the RQ after scores higher than the RQ before scores. 

Author Biographies

อัมเรศ เนตาสิทธิ์

หมู่วิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

ที่อยู่ 119 หมู่ 9 ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100

พงศ์วัชร ฟองกันทา

สาขาการวัด ประเมินและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 

ที่อยู่ 119 หมู่ 9 ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100

ปณตนนท์ เถียรประภากุล

หมู่วิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ที่อยู่ 119 หมู่ 9 ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง 52100

Downloads

Published

2017-05-16

How to Cite

เนตาสิทธิ์ อ., ฟองกันทา พ., & เถียรประภากุล ป. (2017). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (RQ) สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม กรณีศึกษา: ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง Development of Resilience Quotient (RQ) Support Activities Set for Flooded Communities; a Case Study at Gluy Pae sub-district, M. Journal of Education Studies, 44(3), 238–250. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/86579