พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบน Moral Development of Secondary School Students in the Buddhist Way of Life Schools (BWLS) in the Upper Northern Region
Keywords:
คุณธรรม, จริยธรรม, โรงเรียนวิถีพุทธ, MORAL, ETHICS, BUDDHIST WAY OF LIFE SCHOOLAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมในตัวนักเรียน และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียน 9 โรง นักเรียน 500 คน ผู้บริหารและครู 18 คน ในปี 2557 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนอยู่ในระดับดี ในแง่คุณลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรมสี่ด้าน ได้แก่ ด้านกาย สังคม จิต และปัญญา นักเรียนคิดว่าตนมีคุณลักษณะทั้งสี่ด้านในระดับสูง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน การจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนามาเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรที่ใช้ชีวิตเป็นตัวตั้ง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิถีพุทธ การมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ระบบนิเทศตรวจสอบและประมวลผลอย่างต่อเนื่อง ห้องเรียนและอาคารเรียนมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ และครูมีพรหมวิหารธรรม ส่วนปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ สภาพแวดล้อมของนักเรียนบางคนไม่เอื้อ มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารบ่อย ครูส่วนหนึ่งไม่เข้าใจแนวทางของโรงเรียนวิถีพุทธ ครูมีภาระงานมาก หลักสูตรยังไม่บูรณาการแนวคิดวิถีพุทธอย่างเพียงพอและยังไม่เชื่อมโยงกับวิถีในชุมชน ครูไม่อาจทำแผนการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาวิถีพุทธได้ในทุกรายวิชา โรงเรียนยังขาดเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน ส่วนค่านิยมสมัยใหม่ที่เน้นวัตถุนิยม วิถีชีวิตแบบเมือง อิทธิพลทางลบของสื่อ และการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครอง เป็นอุปสรรคจากภายนอกโรงเรียน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านี้จะช่วยให้ปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อคุณธรรมของนักเรียนได้ดีขึ้น
This research aims to study the way the Buddhist Way of Life Schools (BWLS) operate, what moral character looks like, and the important factors for moral development. Both qualitative and quantitative approaches were used to study 9 BWLS. Simple random sampling was used to select 18 classes from Grades 9 and 12, totaling 500 students, 18 school directors and teachers. Three instruments were used: a questionnaire to evaluate school operations, an in-depth interview for directors and teachers, and a self-evaluation form for students’ moral character. The findings revealed that the students rated the success in school operations as high. Significant factors include the teachers, schools’ operational plan, student-teacher relations, and Buddhist extra-curricular activities. The students’ moral characters were evaluated as high. Nine factors conducive to the positive formation of the students’ moral character were enabling environment, arrangement of Buddhist extra-curricular activities, learner-centered method of teaching, relevant curriculum for students’ ways of life, etc. Negative factors were students’ home environment, frequent changes of school directors, lack of integration of Buddhist education concepts in teaching, materialism, mass media influence and the lack of parents’ co-operation.