การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์ DEVELOPMENT OF HEALTH EDUCATION CURRICULUM FOR LOWER SECONDARY LEVEL, BANNONGWA SCHOOL, SURIN

Authors

  • ประธาน พิศงาม
  • ศิริรัตน์ ศรีสอาด

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตร, สุขศึกษา, มัธยมศึกษาตอนต้น, DEVELOPMENT CURRICULUM, HEALTH EDUCATION, LOWER SECONDARY LEVEL

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้าจังหวัดสุรินทร์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) ศึกษาความสอดคล้องของหลักสูตรสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์ กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2) จัดทำขอบข่ายเนื้อหาและการจัดลำดับการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สุขศึกษา 3) จัดทำคำอธิบายรายวิชา 4) ประเมินความเหมาะสมของคำอธิบายรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5) วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ศึกษานิเทศก์ งานนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านสุขศึกษา

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบอิงมาตรฐาน ได้รายวิชาทั้งสิ้น 6 วิชา ซึ่งผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอนการวิจัย 2) คำอธิบายรายวิชาทั้ง 6 วิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดในทุกประเด็นคำถาม

 

The purpose of this research was to develop a health education curriculum for lower secondary level at Bannongwa School, Surin. The research processes consisted of: 1) Studying the congruence of the health education curriculum for lower secondary level at Bannongwa school, Surin and health education standards in the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. 2) Developing a health curriculum organization. 3) Developing course descriptions. 4) Evaluating the appropriateness of the developed course descriptions by experts. 5) Analyzing the experts reviews and adjusting the course descriptions. Using arithmetic (\bar{x}) and standard deviation for data analysis. The sample groups of this research were teachers in the department of health and physical education of Bannongwa School in Surin, the health and physical education supervisors and university experts in health education.

The results of this research revealed that: 1) Getting the 6 health education courses for lower secondary level based on a standards-based curriculum and research methodology. 2) The appropriateness of 6 course descriptions qualified at the high and highest levels in all aspects of the questions.

Author Biographies

ประธาน พิศงาม

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศิริรัตน์ ศรีสอาด

สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Downloads

Published

2017-05-16

How to Cite

พิศงาม ป., & ศรีสอาด ศ. (2017). การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์ DEVELOPMENT OF HEALTH EDUCATION CURRICULUM FOR LOWER SECONDARY LEVEL, BANNONGWA SCHOOL, SURIN. Journal of Education Studies, 44(3), 97–113. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/86552