ผลของการใช้อาชาบำบัดที่มีต่อพัฒนาการด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งมีลักษณะต่างกัน EFFECT OF HIPPOTHERAPY ON THE BEHAVIORAL DEVELOPMENT OF SPECIAL NEEDS STUDENTS WITH DIFFERENT CHARACTERISTICS
Keywords:
อาชาบำบัด, นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ, พัฒนาการด้านพฤติกรรม, Hippotherapy, special needs student, behavioral developmentAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้อาชาบำบัดที่มีต่อพัฒนาการด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 8 คน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน 5กลุ่มอาการ คือ ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม วิลเลี่ยมซินโดรม พราเดอร์-วิลลี่ซินโดรม และพัฒนาการล่าช้า แบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียว เครื่องมือวิจัยคือแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ Spearman's R test และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านความประพฤติ ด้านสมาธิ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และด้านสัมพันธภาพทางสังคม โดยด้านสมาธิ มีคะแนนก่อนและหลังร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของพ่อแม่และครู กล่าวคือ นักเรียนออทิสติก นักเรียนที่มีอาการดาวน์ซินโดรม นักเรียนที่มีอาการพราเดอร์ วิลลี่ซินโดรมมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมดีขึ้นทุกด้าน ส่วนนักเรียนที่มีอาการวิลเลี่ยมซินโดรม นักเรียนที่มีพัฒนาการล่าช้า มีปัญหาด้านพฤติกรรมเพียงบางด้าน จึงมีคะแนนพฤติกรรมดีขึ้นเฉพาะด้านที่มีปัญหา
This research aimed to study the effect of hippotherapy on the behavioral development of 8 special needs students with 5 different characteristics: autism, Down syndrome, Williams syndrome, Prader-Willi syndrome, and developmental delay. Pre-experiment research with one-group design was administered. The research instruments were a Strengths and Difficulties Questionnaire, behavioral observation form, record form and questionnaire. Wilcoxon Signed Ranks Test, Spearman’s R Test, and qualitative analysis are used for data analysis. The results of the study were as follows: It was found that all samples were developed in all domains: emotional problems, conduct problems, hyperactive/inattention, peer problems, and prosaically behavior. It was also found that the hyperactive/inattentive posttest score was higher than the pretest score statically at the .05 level of significance. This result was also related to parents’ opinions which indicate that the autistic students, Down syndrome students, and Prader-Willi syndrome students had clearly improved in all 5 domains. However, the William syndrome students and developmental delay students only improved on domains with difficulties.