การเปรียบเทียบคะแนนความเครียดของนักศึกษาที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้เชิงสรุปผลกับ การประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น
คำสำคัญ:
การประเมินผลเชิงสรุป, การประเมินผลเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้, คะแนนความเครียด, วิชาภาษาจีนเบื้องต้นบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น (2) เปรียบเทียบระดับความเครียดของนักศึกษาระหว่างนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้เชิงสรุปผลกับการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์ และ (3) จัดทำข้อเสนอแนะการประเมินผลการเรียนรู้ ตัวอย่างการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาจีน สำนักวิชาจีนวิทยา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจำนวน 144 ตัวอย่างได้มาโดยการกำหนดขนาดตัวอย่างและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบสอบถามสภาพและความต้องการจำเป็นของการประเมินผล (2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล (3) แบบวัดความเครียดสวนปรุง และ (4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองโดยศึกษาความต้องการจำเป็นโดยใช้ดัชนี PNImodified และเปรียบเทียบคะแนนความเครียดระหว่างกลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้เชิงสรุปผลกับกลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือสถิติบรรยายและสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นพบว่านักศึกษามีความถนัดในการประเมินแบบดั้งเดิม เช่น การทดสอบเชิงสรุปที่ใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ ในภาพรวมยังไม่พบประเด็นปัญหาการวัดประเมินผลในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้นและนักศึกษามีความต้องความจำเป็นในเรื่องการให้ข้อมูลป้อนกลับสูงสุด (2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความเครียดแสดงให้เห็นว่าระดับความเครียดของตัวอย่างการวิจัยที่เรียนรู้เรื่องอาหาร เครื่องดื่ม ของหวานจีนและประเพณี วัฒนธรรมของประเทศจีนของกลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้เชิงสรุปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทางตรงกันข้ามระดับความเครียดของตัวอย่างการวิจัยที่เรียนรู้การบอกทางและการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญของประเทศจีนของกลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้เชิงสรุปต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ประกอบไปด้วยรูปแบบของแบบทดสอบเกณฑ์การประเมิน และสัดส่วนคะแนน
References
ภาษาไทย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). นโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนการวัดประเมินผลและการพัฒนาผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
จิริสุดา สินธุศิริ, ปทิตตา สงวนสุข, และ นริศรา ชัยเชียงพิณ. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 10(1), 13-29.
ชยาภรณ์ จันทรวรางกูร. (2562). การสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดีในชั้นเรียน. วารสารการศึกษาจิตวิทยา, 12(1), 34-47.
เชาวลิต ศรีเสริมวิจิตรา, จิตรักษ์ บุปผาใจมั่น, และ พิชญานิกา เชื้อกาญจน์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะบีบคั้นทางจิตใจของนักศึกษาพยาบาลในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(7), 75-90.
ธนิตา ปรึกษา. (2561). หลักการออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้. วารสารการศึกษาวิจัย, 45(3), 67-89.
ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง. หน้า 11-20.
โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. (2566). สถิติการเข้าพบจิตแพทย์และนักจิตวิทยาบำบัด. [รายงานประจำปี]. เชียงราย: โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ส่วนประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร. (2565). ผลการประเมินการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น. [รายงานประจำปี]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สายฝน สีนอเพีย และ รุจิรา ดวงสงค์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 10-23.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และ พิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. จิตเวชวิทยาสาร, 13(3), 1-20.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Biggs, J., & Tang, C. (2011). Teaching for Quality Learning at University: What the Student Does (4th ed.). McGraw-Hill and Open University Press.
Black, P., & Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning. Assessment in Education, 5(1), 7-74. https://doi.org/10.1080/0969595980050102
Harden, R. M. (2007). Outcome-based education: The future is today. Medical Teacher, 29(7), 625-629. https://doi.org/10.1080/01421590701729930
Harlen, W. (2005). Trusting teachers' judgments: research evidence of the reliability and validity of teachers' assessment for summative purposes. Research Papers in Education, 20(3), 245-270. https://doi.org/10.1080/02671520500193744.
Killen, R. (2000). Outcomes-based education: Principles and possibilities [Unpublished manuscript]. University of Newcastle, Faculty of Education.
Mastagli, M., Malini, D., Hainaut, J. P., Van Hoye, A., & Bolmont, B. (2020). Summative assessment versus formative assessment: An ecological study of physical education by analyzing state-anxiety and shot-put performance among French high school students. Journal of Physical Education and Sport, 20(3), 2220-2229. https://doi.org/10.7752/jpes.2020.s3298.
Schindler, L. A., Burkholder, G. J., Morad, O. A., & Marsh, C. (2017). Computer-based technology and student engagement: A critical review of the literature. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 14(1), 25. https://doi.org/10.1186/s41239-017-0063-0.
Spady, W. G. (1994). Outcome-Based Education: Critical Issues and Answers. American Association of School Administrators.
Stiggins, R. J., Richard, J., & Chappuis, J. (2017). An Introduction to Student-Involved Assessment for Learning. Pearson.
The jamovi project. (2022). Jamovi (Version 2.3). [Computer Software]. Retrieved from https://www.jamovi.org
Weare, K. (2015). Promoting Mental, Emotional and Social Health: A Whole School Approach. Routledge.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.