ผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายสร้างจังหวะและแบบรูป ที่มีต่อการแสดงออกและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การเคลื่อนไหวร่างกายสร้างจังหวะ, แบบรูป, การแสดงออกและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายสร้างจังหวะและแบบรูปที่มีต่อการแสดงออกและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กชายและเด็กหญิงอายุ 3-4 ปี ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายสร้างจังหวะและแบบรูปเพื่อส่งเสริมการแสดงออกและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 24 แผน และแบบประเมินเชิงปฏิบัติการแสดงออกและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวม และรายด้าน ประกอบด้วย 1) การฟังและจำแนกเสียงจากดนตรี 2) การฟังเสียงจากธรรมชาติ และ 3) การใช้สีสันเพื่อการเคลื่อนไหวและการแสดงออกทางอารมณ์ เด็กสามารถฟังและจำแนกความแตกต่างของจังหวะ ใช้ภาพสัญลักษณ์ออกแบบสร้างเสียงจังหวะ แสดงออกทางอารมณ์จากการฟังเสียงจากธรรมชาติ และใช้สีสันแสดงความหมายของอารมณ์ได้โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายสร้างจังหวะและแบบรูปเพื่อส่งเสริมการแสดงออกและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นฐานทางด้านดนตรีและคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
References
ภาษาไทย
กัญฐิตา โกมลพันธ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมร่างกายสร้างจังหวะโดยใช้เพลงสำหรับเด็กเพื่อเสริมสร้างทักษะเครื่องกระทบขั้นพื้นฐานสำหรับครูประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn university theses and dissertations (chula etd). https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=5232&context=chulaetd
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ธวัชชัย นาควงษ์. (2543). การสอนดนตรีสำหรับเด็ก (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เมธาวี นิยมสุข. (2561) การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสากลตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อพัฒนาทักษะทางการปฏิบัติทางดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย [ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Mathawee.Niy.pdf
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2560). พื้นฐานการจัดการเรียนรู้ทางดนตรี Basic of music learning management [ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. Srinakharinwirot University Institutional Repository. https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/16612/1/Edu-Book-Artit-P.pdf
ภาษาอังกฤษ
Action for healthy kids. (2024). Creative Expression and Movement. https://www.actionforhealthykids.org/activity/creative-expression-and-movement/
Anderson, W. T. (2011). The Dalcroze Approach to Music Education. General Music Today, 26(1), 27–33. https://doi.org/10.1177/1048371311428979
Hervista, G. A. (2016). PENGARUH BODY PERCUSSION TERHADAP KEMAMPUAN RITMIK GERAK TARI SISWA. Universitas Pendidikan Indonesia. Bandung, Mei 2016.
Huovinen, E., & Keipi, A. (2021). Improvising on Emotion Terms: Students’ Strategies, Emotional Communication, and Aesthetic Value. Journal of Research in Music Education, 70(3), https://doi.org/10.1177/00224294211044676
Jedrzejowska, E. (2020). Expressing Movement in Drawings of Children at Preschool and Early School Age. Konteksty Pedagogiczne, 15(2), 361-385. https://doi.org/10.19265/kp.2020.2.15.287
Mcllroy, T. (2024, June 5). Body Percussion for Kids: Simple Ideas and Activities. Empowered Parents. https://empoweredparents.co/body-percussion/
Ministry of Education Republic of Singapore. (2013). Nurturing Early Learners A Curriculum for Kindergartens in Singapore: Social and Emotional Development. Republic of Singapore. https://www.nel.moe.edu.sg/qql/slot/u143/Resources/Downloadable/pdf/nel-guide/nel-edu-guide-social-emotional-development.pdf
Romero-Naranjo, F. J. (2020). Body Percussion in the Physical Education and Sports Sciences. An Approach to its Systematization According to the BAPNE Method. International Journal of Innovation and Research in Educational Sciences, 7(5), 421-431.
Rominger, C., Fink, A., Weber, B., Papousek, I., & Schwerdtfeger, A. R. (2020). Everyday bodily movement is associated with creativity independently from active positive affect: a Bayesian mediation analysis approach. Scientific Reports, 10(1). https://doi.org/10.1038/s41598-020-68632-9

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.