การพัฒนางานทางคณิตศาสตร์เพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
งานทางคณิตศาสตร์, ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนจำเป็นต้องอาศัยงานทางคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะบางประการ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบงานทางคณิตศาสตร์ และ 2) เพื่อทดลองใช้งานที่ออกแบบขึ้นสำหรับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยการดำเนินการวิจัยและออกแบบแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมและการออกแบบ การทดลองใช้ต้นแบบงาน และการวิเคราะห์สืบย้อน ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วย นักการศึกษาคณิตศาสตร์ ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย งานทางคณิตศาสตร์และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน (ความถี่ ร้อยละ) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ 2 ประเด็น ดังนี้ 1) การออกแบบงาน จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1.1) ความเชื่อมโยงกับบริบทโลกจริงและนักเรียน 1.2) ความเชื่อมโยงกันระหว่างข้อคำถาม 1.3) การมีส่วนร่วมของผู้ออกแบบ และ 1.4) ความสะดวกต่อการใช้เกณฑ์การให้คะแนน และ 2) ผลการทดลองใช้งาน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่สามารถแสดงแนวคิดในการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ แต่มีนักเรียนบางส่วนที่ไม่สามารถแสดงแนวคิดในการใช้คณิตศาสตร์ การตีความและการประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องตามข้อคำถามที่กำหนดได้ ข้อค้นพบจากการวิจัยและการออกแบบในครั้งนี้ เป็นแนวทางการพัฒนางานทางคณิตศาสตร์อย่างมีส่วนร่วมเพื่อการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ในบริบทจริง
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ และ สุพจน์ ไชยสังข์. (2557). การวิเคราะห์การสอบพิซ่าและโอเน็ตของสถาบัน ทดสอบการศึกษาแห่งชาติเพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. https://backoffice.niets.or.th/th/content/view/304
สกล ตั้งเก้าสกุล, ทรงชัย อักษรคิด, วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ และ ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์. (2566). การวิเคราะห์ลักษณะสำคัญของงานสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ออกแบบโดยนักศึกษาครูคณิตศาสตร์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 251-266.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563, 21 มิถุนายน). PISA 2021 กับการประเมินความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์. https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-53
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุนีย์ คล้ายนิล. (2558). การศึกษาคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียนไทย : การพัฒนา - ผลกระทบ - ภาวะถดถอยในปัจจุบัน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. https://drive.google.com/file/d/0BwqFSkq5b7zSWUduVm1XWVVIdlk/view?resourcekey=0-8oYRqf55pvEzmooqmTAtNg
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Bakker, A. (2018). Design research in education: A practical guide for early career researchers. Routledge.
Blum, W. (2015). Quality Teaching of Mathematical Modelling: What Do We Know, What Can We Do?. In: Cho, S. (Eds.), The Proceedings of the 12th International Congress on Mathematical Education (pp. 73-96). Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-319-12688-3_9
Bonotto, C. (2007). How to Replace Word Problems with Activities of Realistic Mathematical Modelling. In: Blum, W., Galbraith, P.L., Henn, HW., Niss, M. (Eds.), Modelling and Applications in Mathematics Education (pp. 185-192). New ICMI Study Series, vol 10. Springer, Boston, MA. https://doi.org/10.1007/978-0-387-29822-1_18
Borromeo Ferri, R. (2018). Learning how to teach mathematical modeling in school and teacher education. Switzerland: Springer International Publishing.
Crespo, S. (2003). Learning to pose mathematical problems: Exploring changes in preservice teachers' practices. Educational Studies in Mathematics, 52(3), 243-270.
Galbraith, P. (2006). Real world problems: Developing principles of design. In P. Grootenboer, R. Zevenbergen & M. Chinnappan (Eds.), 29th annual conference of the mathematics education research group of Australasia: Identities, cultures and learning spaces (Vol. 1, pp. 229–236). Canberra: MERGA.
Goos, M., Vale, C., Stillman, G., Makar, K., Herbert, S., & Geiger, V. (2020). Teaching secondary school mathematics: Research and practice for the 21st century. Routledge.
Kaiser, G. (2020). Mathematical modelling and applications in education. In S. Lerman (Ed.), Encyclopedia of Mathematics Education (pp. 553–561). Second edition. Springer.
Maaß, K. (2010). Classification scheme for modelling tasks. Journal für Mathematik-Didaktik, 31(2), 285-311.
OECD. (2018, July 21). PISA 2021 Mathematics Framework (Second Draft). https://pisa2022-maths.oecd.org/files/PISA%202022%20Mathematics%20Framework%20Draft.pdf
Stacey, K., & Turner, R. (2014). Assessing mathematical literacy. Springer International Publishing AG.
Tangkawsakul, S., Thaikam, W. & Ugsonkid, S. (2024). Bridging Gaps: Pre-Service Mathematics Teachers’ Handling the Difficulties in Posing Real-World Mathematical Problems. Journal of Education and Learning. 13(3), 133-143. https://doi.org/10.5539/jel.v13n3p133

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.