การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2022.14คำสำคัญ:
การดูดซับความรู้, ความสามารถในการดูดซับความรู้, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 305 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีการรับรู้ความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ มากกว่า ระดับปริญญาตรี ตำแหน่ง ครู (คศ.3) ขึ้นไป มากกว่า ครู (คศ.1) และตำแหน่ง ครู (คศ.2) มากกว่า ครู (คศ.1) ส่วนข้าราชการครูที่สังกัดขนาดสถานศึกษา และต้นสังกัด ต่างกัน มีการรับรู้ความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
References
ภาษาไทย
กนกชล ธนบดีเลิศเมธา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากบริษัทแม่ในต่างประเทศ
กรณีศึกษา บริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6023032086_9283_10237.pdf
กรรณิกา เชาว์วัฒนกุล. (2559). ความสามารถในการดูดซับความรู้ : อิทธิพลจากภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพกลไกจาก
ช่องทางการรั่วซึมความรู้ และผลกระทบต่อนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยบรรษัทไทย. วารสารพยาบาลทหารบก,
(3), 90-98.
จิราพรรณ แสงมณี. (2559). ประสิทธิภาพการจัดการความรู้ตามทัศนะของผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัด
นครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 11-18.
พงษ์พัฒน์ วอทอง. (2563). การจัดการความรู้ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/
/A/040/1.PDF.
เสรี ทองคำ. (2556). การจัดการความรู้และแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์, 24(3), 86-100.
สุชาดา หวังดี. (2560). การจัดการความรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มศูนย์ภัทรบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาตราด [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://shorturl.asia/WbOry
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. https://www.nesdc.go.th.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การวิจัยทางการศึกษาแนวคิดและการประยุกต์ใช้ Educational research concepts
and applications. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Anderson, R. (2008). Implications of the information and knowledge society for education. In J. Voogt, &
G. Knezek, (Eds.), International handbook of information technology inprimary and secondary
education (pp. 5-22). Springer.
Cohen, L., Lawrence, M., & Keith, M. (2011). Research methods in education (7th ed). Routledge.
Cohen, W. M., & Levinthal, D. A. (1990). Absorptive capacity: A new perspective on learning and
innovation. Administrative Science Quarterly.
Kostopoulos, K., Papalexandris, A., Papachroni, M., & Ioannou, G. (2011). Absorptive capacity, innovation,
and financial performance. Journal of Business Research, 11(Suppl. 64), 1335-1343. https://doi.org/10.1016/j.jbusres.2010.12.005
Lichtenthaler, U. (2009). Absorptive capacity, environmental turbulence, and the complementarily of
organizational learning processes. Otto Beisheim School of Management.
Miroshnychenko, I., Strobl, A., Matzler, K., & Massisa, A. D. (2021). Absorptive capacity, strategic flexibility,
and business model innovation: Empirical evidence from Italian SMEs. Journal of Business
Research, 21(Suppl. 130), 670-682. https://www.research.lancs.ac.uk/portal/en/publications/
absorptive-capacity-strategic-flexibility-and-business-model-innovation(31de6a0d-eb6b-48dc-a4cb d30f8d348d47).html
Muller, J. M., Buliga, O., & Voigt, K. I. (2020). The role of absorptive capacity and innovation strategy in the
design of industry 4.0 business models - A comparison between SMEs and large enterprises.
European Management Journal, 20(Suppl. 39), 333-343. https://doi.org/10.1016/j.emj.2020.01.002.
Noblet, J. P., Simon, E. & Parent, R. (2011). Absorptive capacity: a proposed operationalization. Knowledge
Management Research & Practice, 11(Suppl.9), 367-377. www.palgrave-journals.com/kmrp/.
Schweisfurth, T. G., & Raasch, C. (2018). Absorptive capacity for need knowledge: Antecedents and effects
for employee innovativeness. Research Policy, 18(Suppl. 47), 687-699.
Zahra, S. A., & George, G. (2002). Absorbtive capacity: A review, reconceptualization, and extension. The
Academy of Management, 02(Suppl. 27), 185-203. https://www.jstor.org/stable/4134351
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.