การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปี ปีการศึกษา 2561 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2021.38คำสำคัญ:
การประเมินคุณภาพการศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, ข้อสอบมาตรฐาน, มัธยมศึกษาปีที่ 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประมวลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปีของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 442,847 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด (ร้อยละ 44.35) รองลงมาคือ วิทยาศาสตร์ (ร้อยละ 38.71) โดยกลุ่มสาระภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีผลการประเมินในระดับพอใช้ รองลงมาคือ ระดับดี ส่วนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับพอใช้ รองลงมาคือ ระดับปรับปรุง ผลการประเมินจำแนกตามสังกัด พบว่า นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มสาระภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาตามขนาดโรงเรียน พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุดทุกกลุ่มสาระ เช่นเดียวกันกับนักเรียนในภาคตะวันตก แต่นักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด สำหรับรูปแบบของข้อสอบ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ทำข้อสอบเชิงซ้อนได้มากที่สุด แต่ทำข้อสอบแบบตอบสั้นและตอบอิสระได้น้อย สำหรับผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ ได้ค่าความเที่ยงของกลุ่มสาระภาษาไทย เท่ากับ 0.78 คณิตศาสตร์ เท่ากับ 0.66 วิทยาศาสตร์ เท่ากับ 0.76 และ ภาษาอังกฤษ เท่ากับ 0.82 โดยทุกกลุ่มสาระยกเว้นกลุ่มสาระภาษาไทยมีจำนวนข้อสอบยากและค่อนข้างยากเกินกว่าร้อยละ 50
References
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559ก). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. http://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports/timss2015report
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559ข). ผลการประเมิน PISA 2015. https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รายงานการวิจัยเปรียบเทียบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่สังคมฐานความรู้. ม.ป.พ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2558/2559 ความจำเป็นของการแข่งขันและการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย. 21 เซ็นจูรี่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.