ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส

ผู้แต่ง

  • Saechueng, A. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Samawathdana, R. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/educu.2021.28

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, การเสริมต่อศักยภาพ, ความรับผิดชอบ, ทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบทดสอบความรับผิดชอบและแบบวัดทักษะการตีโต้หน้ามือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการตีโต้หน้ามือหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนความรับผิดชอบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการตีโต้หน้ามือหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีคะแนนความรับผิดชอบหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการตีโต้หน้ามือและความรับผิดชอบหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ภาษาไทย
ขวัญฤดี ขำซ่อนสัตย์. (2542). การศึกษาพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จันทรา พวงยอด. (2543). การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพุทธจักรวิทยา โดยใช้กิจกรรมและเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2555). เทคนิคและทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นสูง. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2524). หลักและวิธีการสอนระดับอุดมศึกษา. ไทยวัฒนาพานิช.
ปรียา ชัยนิยม. (2542). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการสอนความรับผิดชอบและความมีระเบียบวินัยโดยกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ในสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยินดี ศรีศักดิ์หิรัญ. (2542). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมการบรรลุตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมความรับผิดชอบของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2527). หลักการสอนพลศึกษา. ไทยวัฒนาพาณิช.
สมแพง อินอาน. (2553). การจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกีฬาเทเบิลเทนนิส. ครูบ้านนอกดอทคอม. https://www.kroobannok.comu11571.info
อนุวัติ คูณแก้ว. (2538). การวัดและการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาษาอังกฤษ
Kohlberg, L. (1964). Development of moral character and moral ideology. In M. L. Hoffman & L. W. Hoffman (Eds.), Review of child development research (pp. 383-432). Connecticut Printer.
Wood, D., Bruner, J. S., & Ross, G. (1976). The role of tutoring in problem solving. Journal of Child Psychology and Psychiatry, 17(2), 89-100.
Vygotsky, L. S. (1980). Mind in society: The development of higher psychological processes. Harvard University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-21

How to Cite

แซ่จึง เ. ., & สมะวรรธนะ ร. . (2021). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2), EDUCU4902007. https://doi.org/10.14456/educu.2021.28