การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม
DOI:
https://doi.org/10.14456/educu.2021.23คำสำคัญ:
การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา, ภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 342 โรง ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คน ต่อ 1 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) พบว่า การบริหารกิจการนักเรียน (PNIModified = 0.195) มีดัชนีความต้องการจำเป็นในระดับสูงเป็นจุดอ่อนโดยการดำเนินงานสภานักเรียน (PNIModified = 0.198) มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงกว่าการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร (PNIModified = 0.192) ส่วนการบริหารงานวิชาการ (PNIModified = 0.188) มีดัชนีความต้องการจำเป็นในระดับต่ำเป็นจุดแข็งของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). “ภาวะผู้นำ” สร้างได้ในวัยเยาว์. http://www.kriengsak.com/node/548.
บัญญัติ คำนูญวัฒน์. (2559, 21 กันยายน). “เปิดแผนพัฒนาฯฉบับ 12 ปูทางสู่ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”. คม ชัด ลึก. http://www.komchadluek.net/news/economic/243053
วาสนา บุญญาพิทักษ์. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรสาขาดนตรีและนาฏศิลป์ไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรดา ชุลีกราน. (2544). แนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดราชบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. (2559). พระบรมราโชวาท. http://news.ch7.com/speech/22พระบรมราโชวาท.html
สายสุนี ศักรางกูร (2548). ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและเนื้อหาเรื่องการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียน ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2559). ภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม (Transcendental leadership). http//www.suthep.crru.ac.th/leadership39.doc
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). มาตรฐานในการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2552. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ภาษาอังกฤษ
Cardona, P. (2000). Transcendental leadership. Leadership & Organizational Development Journal, 21(4), 201-206.
Liu, C. H. (2007, May 31-June 2). Transactional, transformational, transcendental leadership: Motivation effectiveness and measurement of transcendental leadership. In Leading the future of the public sector: The third transatlantic dialogue (pp. 1-26). University of Delaware, Newark, Delaware, USA. http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.461.4126&rep=rep1&type=pdf
Swierczek, F. W. (2014). Transcendental leadership in the great world disorder. SEAMEO RETRAC. http://www.vnseameo.org/InternationalConference2014/Materials/FredricW.Swierczek.pdf
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.