การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึก และการปฏิบัติของนักเรียนในการลดภาวะโลกร้อน

ผู้แต่ง

  • ศิรินทิพย์ ธิติพงศ์วนิช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปองสิน วิเศษศิริ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารโรงเรียน, การเสริมสร้างจิตสำนึกและการปฏิบัติของนักเรียน, ภาวะโลกร้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและการปฏิบัติของนักเรียนในการลดภาวะโลกร้อน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ของการบริหารโรงเรียนฯ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 395 โรง เครื่องมือวิจัย  ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารโรงเรียนฯ ประกอบด้วย การบริหารโรงเรียนในด้านการบริหารวิชาการและการบริหารทั่วไป และการเสริมสร้างจิตสำนึกและการปฏิบัติของนักเรียน 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.349) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การจัดอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันสูงที่สุด (M = 3.553) สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.839 ) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การจัดอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงที่สุด (M = 3.946) 3) จุดแข็ง คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และการจัดการอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม/ แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ส่วนจุดอ่อน คือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดผลประเมินผลและ งานกิจการนักเรียน โอกาส คือ นโยบายของรัฐ และสภาพสังคม ส่วนภาวะคุกคาม คือ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพเทคโนโลยี

References

ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สหกรณ์การเกษตรประเทศไทย.
กุลกานต์ ฤทธิ์ฤาชัย รัตนวราหะ. (2560). Day care พื้นฐานปฐมวัย (ตอนที่ 2) ถามครูพ่อแม่พร้อม ลูกพร้อม. ถามครู.com. http://taamkru.com/th/DayCare
ชัยวัฒน์ คุประตกุล. (2551). โลกร้อน เรื่องร้อนของโลก. สถาพรบุ๊คส์.
ฐิตินันท์ ศรีสถิต. (2550). โลกร้อนทุกสิ่งที่เราทำเปลี่ยนแปลงโลกเสมอ. ภาพพิมพ์.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2553). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: พื้นฐานการศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม. ไทยสัมพันธ์.
พรพจน์ เปี่ยมสมบูรณ์. (2559). เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยั่งยืน และการศึกษาในศตวรรษที่ 21. CSR Chula We Care. www.csr.chula.ac.th/sufficiency_ economy/ images/.../article_pornpot.pdf
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). ปรัชญาวิจัย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา: รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช, และ จิระวัฒน์ อนุชชานนท์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. พัฒนาศึกษา.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2558). จับกระแส Rio+20 สู่สังคมไทย. http://www.measwatch.org/book/4025
สุชาติ อุดมโสภกิจ. (2559). ความท้าทายของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ 21. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). http://www.tpa.or.th/publisher/.../TN211B_p44-48.pdf
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ภาษาอังกฤษ
Devine, T., Seuk, J. H., & Wilson, A. (2001). Cultivating heart and character: Educating for life’s most essential goals. Character Development.
Lickona, T. (1991). Educating for character: How our schools can teach respect and responsibility. Bantam Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30

How to Cite

ธิติพงศ์วนิช ศ. ., วิเศษศิริ ป. ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. . (2020). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึก และการปฏิบัติของนักเรียนในการลดภาวะโลกร้อน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(3), 332–348. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/245014