ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • สุปราณี ชมจุมจัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ขนบพร แสงวณิช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กิจกรรมมิติสัมพันธ์, ทักษะการวาดภาพ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ pretest–posttest one group design ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 8 สัปดาห์ๆ 1 ครั้งละ ๆ 50 นาที กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดชัยมงคล  สังกัดสำนักงานกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบการวาดภาพก่อนและหลังเรียน แผนการสอนโดยใช้กิจกรรมมิติสัมพันธ์ และแบบวัด เจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย สถิติร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบ t-test      

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์มีผลคะแนนการวาดภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และผลการวิเคราะห์แบบวัดเจตคติที่มีต่อการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์พบว่า เด็กส่วนใหญ่ชอบกิจกรรมที่จัดขึ้นมาก คิดเป็นร้อยละ 86.7

References

Chapman, L. H. (1978). Approaches to art in education. New York: Harcourt Brace Jovanovih.
Clark, G. (1988). CDAT: Clark’s drawing abilities test. Bloomington: Arts Publishing.
Feldman, E. B. (1979). Becoming human through art: Aesthetic experience in the school. New Jersey: Prentice–Hall.
Gardner, H. (1993). Multiple intelligences: The theory in practice. New York: Harper Collins.
Grande, J. D., & Morrow, L. (1995). Curriculum and evaluation standards for school mathematics Addenda series grades K–6 (3 ed.). Washington, DC: Library of Congress Cataloging.
Harris, D. B. (1963). Children’s drawing as measure of intelligence maturity. New York: Harcourt Brace, & Co.
Khooshabeh, P., & Hegarty, M. (2010). Inferring cross-sections: when internal visualizations are more important than properties of external visualizations. Human-Computer Interaction, 25, 119-147.
Koster, J. B. (2001). Growing artists teaching art to young children. New York: Thomson Learning.
Lowenfeld, V., & Brittain, W. L. (1987). Creative and mental growth (5th ed.). New York: Macmillan.
Piaget, J. (1972). Science of education and the psychology of the child (Revised ed.). New York: Harcourt Brace Jovanovich.
Simpson, M. (1988). The English-Thai dictionary. Schweiz: Staub.
Willats, J. (1977). How children learn to represent three-dimentional space in drawing. In G. Butterworth (Ed.), The child’s representation of the world (pp. 137-179). New York: Plenum Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

ชมจุมจัง ส., & แสงวณิช ข. (2019). ผลการจัดกิจกรรมมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(Suppl. 2), 310–327. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/232863