การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทย สำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ตลอดชีวิต, การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานไทยสำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาทักษะ
การปฏิบัติงานของแรงงานไทยสำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของแรงงานไทยสำหรับสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ แรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมจำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบคือ แรงงานไทย 24 คนที่อาสาสมัครเข้าร่วมดำเนินการทดลองจำนวน 100 ชั่วโมง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะที่แรงงานไทยในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมต้องการเรียนรู้มากที่สุด 3 ด้าน คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านความปลอดภัยในการทำงาน และทักษะการสื่อสารในองค์กร 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต พบว่า แรงงานไทยในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีทักษะการปฏิบัติงานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความรู้ (2) ทักษะการปฏิบัติงาน และ (3) ระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย ปัจจัยสนับสนุน คือ ความสนใจใฝ่รู้ของผู้เรียน บทบาทของผู้สอน สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการนิเทศฝึกปฏิบัติ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม สถานที่ในการจัดกิจกรรม ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย และความพร้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ.พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงแรงงาน. (2557). แผนแม่บทด้านแรงงาน พ.ศ. 2555–2559. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน.
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2542). การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ. วารสารครุศาสตร์, 27(3), 18-28.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). เศรษฐกิจของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://praewasri.wordpress.com/category
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58733
พัฒนาวดี ชูโต. (2554). โครงการทักษะการทำงานของแรงงาน: มุมมองจากนายจ้าง คนงานและหน่วยงาน ภาครัฐ. สืบค้นจาก https://elibrary.trf.or.th/downloadFull.asp?proid=RDG4410014
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2558). การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและการฝึกอบรม: กรณีศึกษาภาคอุตสาหกรรมไทย. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 9(1), 129-152.
รังสรรค์ สุกันทา. (2546). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วย การนำตนเองสำหรับบุคลากรขององค์กรธุรกิจ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/handle/12345
ศูนย์บริการทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2550). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์เรื่อง แนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการจัดทำเขตการค้าเสรีเสนอต่อสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สามลดา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ภาวะสังคมไทยและภาพรวมปี 2554. สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th
อัมพิกา ไกรฤทธิ์. (2541). การบริหารการผลผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เพื่ออนาคต. กรุงเทพฯ: มปท.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2550). การเรียนรู้และพัฒนาการของผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2551). การเรียนรู้ในสถานประกอบการ. สืบค้นจาก https://portal.edu.chula.ac.th/nfed1/assets//Archanya_Business.pdf
อาชัญญา รัตนอุบล. (2556). การเรียนรู้ในสถานประกอบการ. สืบค้นจาก https://www.edu.chula.ac.th/nfed/student/article.htm#article1
อำนาจ วัดจินดา. (2553). McKinney’s framework แนวคิดปัจจัย 7 ประการในการประเมินองค์กร. สืบค้นจาก https://www.gracezone.org/index.../81--in-search-of-excellence
ภาษาอังกฤษ
Allen, E., & Seaman, J. (2010). Class differences: Online education in the United States. Retrieved from https://sloanconsortium.org/sites/default/files/class_differences.pdf
Alonso, F., López, G., Manrique, D., & Viñes, J. M. (2005). An instructional model for web based e-learning education with a blended learning process approach. British Journal of Educational Technology, 36(2), 217-235.
Barrows, H. S., & Tamblyn, R. M. (1980). Problem-based learning: An approach to medical education. New York: Springer Publishing Company.
Dave, R. H. (1973). Lifelong learning and the school curriculum. Paris: UNESCO.
Dowling, J., & Godfrey, J. (2003). Do hybrid flexible delivery teaching methods improve accounting students’ learning outcomes?. Retrieved from https://www.sciepub.com/reference/24348
Driscoll, M. (2002). Blended Learning: let’s get beyond the hype. Retrieved from https://elearningmag.com/ltimagazine
Field, L. (1991). Skilling Australia. Melbourne: Longman Cheshire Pty.
Knowles, M. S. (1975). Self-directed learning: Guide for learner and teacher. Chicago, IL: Follett Publishing Company.
Meier, D. (2000). The accelerated learning handbook: A creative guide to designing and delivering faster, more effective training programs. NewYork: McGraw Hill.
Vygotsky, L. S. (1997). The historical meaning of the crisis in psychology: A methodological Investigation. New York, NY: Springer Publishing Company.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.
Yasin, M. J., & Mustapha, R. (2007). Workplace learning: Malaysia's experience. Innsbruck: Innsbruck University Press.