การวิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • เมษา นวลศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ความสุขในการเรียนรู้, ทัศนคติต่อวิชาชีพ, ความพึงพอใจในตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ 2) เปรียบเทียบความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำแนกตามเพศ กลุ่มสาขาวิชาที่เรียน และชั้นปี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาจำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิง ได้แก่ t-test และ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีระดับความสุขในการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.88, SD = 0.50) และ 2) ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา ไม่แตกต่างกันตามเพศ กลุ่มสาขาวิชา และชั้นปี

References

ภาษาไทย
จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์ และ คณะ. (2559). ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 34(5), 269-279.
ชมพูนุช หิริโกกุล. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ. เอกสารประกอบการบรรยาย ‘Twilight Program’ การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 (Thailand Research EXPO 2012) ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิร์ล ราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555.
ปัทมา ทองสม. (2554). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. การพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 88-111.
พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และ เบญจวรรณ พิททาร์ด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 7-20.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ระบบจัดการชั้นเรียน. สืบค้นจาก https://cms.vru.ac.th
รจนา คงคาลับ. (2550). ปัจจัยส่วนบุคคลและสัมพันธภาพในครอบครัวกับคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 จังหวัดชลบุรี
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, (2561). สืบค้นจาก https://acad.vru.ac.th/about_acad/ac_StudentActive.php
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Beamukda, P. (2015). The innovative design education system sustainability by the principles of buddhism: A case study concept and vision of steve jobs. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 133-145.
Bundasak, T., Chaowiang K., & Jangasem, N. (2017). Happily learning among nursing students. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 537-396.
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. San Diego, CA: Academic Press.
Nunnally, J. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill.
Palmer, J. A. (1998). Environmental education in the 21st Century: Theory, practice, progress and promise. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

นวลศรี เ. (2019). การวิเคราะห์ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(Suppl. 2), 223–243. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/232856