การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก เนตรนวนิล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, วิชาเครื่องเคลือบดินเผา, ห้องปฏิบัติการเครื่องเคลือบดินเผา

บทคัดย่อ

 การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสอนและการใช้ห้องปฏิบัติการเครื่องเคลือบดินเผาในหลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร คือ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ 2) หลักสูตรผลิตศิลปิน 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม และนำเสนอรูปแบบการสอนที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) แบบสอบถาม อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 – 4  2) แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญเครื่องเคลือบดินเผา 3) แบบสังเกตการใช้ห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยจำแนก จัดหมวดหมู่ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาบทสรุปร่วมกัน ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนเครื่องเคลือบดินเผา 3 หลักสูตร สรุปได้ดังนี้ 1) หลักสูตรผลิตครูศิลปะ เรียนรู้กระบวนการผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่ครอบคลุม เน้นการปลูกฝังคุณค่า การเป็นครูต้นแบบ และพัฒนาทักษะการสอนของผู้เรียน วัดและประเมินผลจากความเข้าใจในกระบวนการผลิตงานและการออกแบบแผนการสอน 2) หลักสูตรผลิตศิลปิน เรียนรู้กระบวนผลิตชิ้นงาน เน้นพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัวตามหลักการทางสุนทรียภาพ วัดและประเมินผลจากพัฒนาการด้านทักษะและความคิดสร้างสรรค์ 3) หลักสูตรผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรม เรียนรู้หลักการออกแบบเชิงอุตสาหกรรม ที่คำนึงถึงความงาม วัสดุ และหน้าที่ใช้สอย เน้นแก้ปัญหาการออกแบบตามความต้องการของตลาด วัดและประเมินผลจากกระบวนการคิดแก้ปัญหาการออกแบบ

References

ภาษาไทย
กรมส่งเสริมการส่งออกระหว่างประเทศ. (2557, 13 มิถุนายน). รอบรู้เศรษฐกิจ ตามติดตลาดโลก, ประชาชาติธุรกิจ, สืบค้นจาก. http://www.ditp.go.th/contents_attach/148790/148790.pdf
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2535). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ สำหรับครูวิชาอาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2538). เครื่องเคลือบดินเผา: เทคนิคและวิธีการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ตีรณธนากุล. (2521). การจัดการโรงฝึกงานช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
สุขุมาล เล็กสวัสดิ์. (2548). เครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้นสำหรับนักออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัยวรรณ สุวคันธกุล. (2532). การจัดและบริหารโรงฝึกงาน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานอุตสาหกรรมศึกษา วิทยาลัยครูพระนคร.
โฮม พอตเตอรี่. (2557). ลักษณะการประกอบธุรกิจ. สืบค้นจากhttp://capital.sec.or.th/webapp/ corp_fin/datafile/69/2015/167200144401012015-0317T1007_Bussiness_Type. PDF?ts=1440846551

ภาษาอังกฤษ
Belluigi, D. Z. (2013). A proposed schema for the conditions of creativity in fine art studio practice. International Journal of Education & the Arts, 14(18/19), 1-22.
Brophy, J. E. (1983). Classroom organization and management. The University of Chicago Press, 83(4), 264-285.
Joyce, B., & Weil, m. (1996). Models of teaching (3rd ed.). Boston, MA: Allyn & Bacon.
Sanborn, K. (2002). College student experience of a studio art class in a liberal arts context. (Doctor Dissertation). Retrieved from https://dspaceprod.lib.uic.edu /handle /10027/11898

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

เนตรนวนิล ธ., & พิชญไพบูลย์ ป. (2019). การนำเสนอรูปแบบการสอนวิชาเครื่องเคลือบดินเผาในระดับปริญญาตรีที่สนองต่อบริบทและลักษณะของห้องปฏิบัติการ. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(Suppl. 2), 130–149. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/232466