ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ ที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ, ความรู้ทางคณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 90 คน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และใบงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบเป็นระยะจากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตรวรรณ เอกพันธ์. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์การสอนเชิงบริบทที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
วัชราภรณ์ ปราณีธรรม. (2549). การศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันกำลังสองของนักเรียนในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์โดยใช้เครื่องคิดเลขกราฟิก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ศุภลักษณ์ ครุฑคง. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธี IMPROVE และการเขียนบันทึกการเรียนรู้ที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สสวท]. (2555). บทสรุปรายงานผลการวิจัย โครงการ TIMSS 2011 (ด้านนักเรียนและครูผู้สอน). สืบค้นจาก https://www.ipst.ac.th/files/executive%2520TIMSS%25202011_PPT.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559). ผลการสอบ O-NET ของสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th
สมเดช บุญประจักษ์. (2540). การพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานสภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.
อรวรรณ ตันสุวรรณรัตน์. (2552). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษาอังกฤษ
Bitter, G. G. (1990). Mathematics method for the elementary and middle school: A comprehensive approach. Boston, MA: Allyn and Bacon.
Jbeili, I. (2012). The effect of coorperative learning with metacognitive scaffolding on mathematics conceptual understanding and procedural fluency. International Journal for Research in Education (IJRE). 32, 46-66.
Bruner, L. S. (1969). The process of education. MA: Harvard University Press.
Kennedy, L. M., & Tipps, S. (1994). Guiding children’s learning of mathematics. Belmont, CA: Wadsworth Publishing Company.
Klausmeier, H. J., & Ripple, R. E., (1971). Learning and human abilities: Educational psychology. New York: Harper Row.
Kiong, L. N. & Yong, H. T. (2004). Scaffolding: A teaching strategy for mathematics. Retrieved from https://math.ecnu.edu.cn [2016, August 25].
Le Blance, J. F., Proudfit, L., & Putl, I. J. (1980). Teaching problem solving in the elementary school. VA: Nation Council of Teachers of Mathematics.
Leitze, A. R., & Wiest, L. R. (1997). GOTCHA! story problems that grab children’s interest. National Council of Teachers of Mathematics.
Maynes, N., & Julien-Schultz, L. (2012). Complex instructional knowledge made accessible for teacher candidates through the alignment of concepts in visual format. Teaching and Learning, 7(1), 21-36.
National Council of Teacher of Mathematics [NCTM]. (1980). An Agenda for Action Recommendation for School Mathematics. Reston, VA: National Council of Teachers of Mathematics.
National Council of Teachers of Mathematics [NCTM]. (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Reston, VA: National Council of Teacher of Mathematics.
Setiadewi, N. C. (2013). The application of Learning - based concept-rich instruction to improved comprehension of fraction concept on elementary school students. Retrieved from https://repository.upi.edu/11750/
Walkowiak, T. A., Berry, R. Q., Meyer, J. P., Rimm-Kau fman, S. E., & Ottmar, E. R. (2014). Introducing an observational measure of standards-based mathematics. Educational Studies in Mathematics, 85(1), 109-128.