ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, ห้องเรียนกลับด้าน, คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 56 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 1 (19 คน) ได้รับวิดีโอการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้น และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองก่อนมีกิจกรรมในห้องเรียน กลุ่มทดลองที่ 2 (19 คน) ได้รับกิจกรรมในห้องเรียน จากนั้นศึกษาวีดิโอการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้น และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และกลุ่มควบคุม (18 คน) ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษา จำนวน 3 แผน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สื่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใข้สถิติเชิงพรรณา การทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังด้วยวิธีวิลคอกซัน การทดสอบด้วยวิธีแบบครัสคาล-วอลลิส การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการบอนเฟอโรนี
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) กลุ่มควบคุม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) หลังการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) หลังการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
กิตติชัย สิธาสิโนบล. (2558). ห้องเรียนกลับด้าน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์, 50, 115-128.
ณัฐวรรธน์ สถิราวิวัฒน์. (2561). แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับวิชาพลศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 79-92.
ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน การนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น. 1000). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ไพวัลย์ ตัณลาพุฒ. (2530). พลศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). หลักการออกแบบการสอนบนเว็บตามแบบจำลอง ADDIE เพื่อการสอนสนทนาภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัย และพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(12), 192-205.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดักส์.
สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2556). เด็กยุคไอที เผชิญสารพัดโลก. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/16570-เด็กยุคไอที%20เผชิญสารพัดโลก%20.html.
ภาษาอังกฤษ
Hung, H. T. (2015). Flipping the classroom for English language learners to foster active learning. Computer Assisted Language Learning, 28(1), 81-96. Retrieved from https://doi.org/10.1080/09588221.2014.967701.