รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารงานวิชาการ, การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประชากรที่ใช้ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 42 เขตพื้นที่การศึกษา รวมจำนวน 2,287 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารวิชาการ จากโรงเรียน 377 โรง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอย
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การจัด
การเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ ประกอบด้วย หลักสูตรและการนำไปใช้ การจัดการเรียน
การสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภายใต้กรอบของการวางแผน
การปฏิบัติการ และการสะท้อนผล ตามองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ โดยมีการกำหนดเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์จากสาระหลักสูตรท้องถิ่น และ 3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นจาก www.mua.go.th
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
ชินภัทร ภูมิรัตน. (2555). โรงเรียนมาตรฐานสากล ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก. สืบค้นจากhttps://www.worldclassschoolthai.net
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2552). การรู้เรื่องการอ่าน การรู้สารสนเทศ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ Reading literacy, information literacy, and ICT literacy. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บรรดล สุขปิติ. (2552). ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย. นครปฐม: หน่วยวิจัยเครือข่ายการพัฒนาครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
พูนภัทรา พูลผล. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเตรียมผู้เรียนสู่ความเป็นพลเมืองโลก. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนเพลินพัฒนา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). การวิจัย: วิธีแสวงหาความรู้/ความจริงของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). สาระสำคัญการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552–2561). สืบค้นจาก https://nited.kkzone1.go.th/data/download/28-06-2015-15-28-02_31038.doc
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2554). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน. นนทบุรี: ซีซีนอล ลิดจ์ลิงคส์.
ภาษาอังกฤษ
Ary, D., Jacob, L. C. & Razavich, A. (1990). Introduction to research in education (4th ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives book 1: Cognitive domain. London, UK: Longman.
Cresswell, J. W. (2008). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods. Thousand Oaks, CA: Sage.
Marzano, R. J. (2001). Designing a new taxonomy of educational objectives. Thousand Oaks, CA: Corwin.