รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยใช้กระบวนการออกแบบร่วมกับตัวแบบจำลองเพื่อส่งเสริมความสามารถการออกแบบทางทัศนะสำหรับนิสิตนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์
Keywords:
การเรียนแบบผสมผสาน, สื่อสังคมออนไลน์, ตัวแบบจำลอง, การออกแบบทางทัศนะ, รูปแบบการเรียนการสอน, BLENDED LEARNING, SOCIAL MEDIA, DUMMY DESIGN, VISUAL DESIGN, INSTRUCTIONAL MODELAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน และ 2) ศึกษาผลการใช้งานรูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบ คือ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 04116030 สื่อสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) เกณฑ์การประเมินแบบรูบริค และ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนมีองค์ประกอบทั้งสิ้น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เครื่องมือบนสื่อสังคมออนไลน์ 2) การวัดและประเมินผล 3) เนื้อหาการเรียน และ 4) บทบาทของผู้สอน รูปแบบการเรียนประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดจุดมุ่งหมาย 2) ค้นหาแรงบันดาลใจ 3) สร้างตัวแบบจำลอง 4) นำเสนอตัวแบบ และ 5) พัฒนาผลงาน จากผลการทดลองผู้เรียนมีคะแนนความสามารถการออกแบบทางทัศนะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการเรียนอยู่ที่ระดับเหมาะสมมาก
The purpose of this research were to 1) create a blended learning model and 2) try out the blended learning model. The subjects in model implementation consisted of twenty seven undergraduate students from Agricultural communication program at King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang who registered the 04116030 Electronic Publishing course in second semester of 2015 academic year. The research instruments consisted of a rubric scoring and questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test dependent. The research results indicated that: The model consisted of four components as follows: 1) Social Media Tools, 2) Learning Assessment, 3) Learning Content, and 4) Instructor Roles. Steps of CBVR learning system consisted of five steps as follows: 1) Goal Setting, 2) Seeking Inspiration, 3) Creating Dummy 4) Presenting and 5) Developing Result. The experimental result indicated that the subjects had Visual design abilities post-test mean scores higher than pre-test mean scores at .05 level of significance, and the overall subjects’ satisfaction toward the learning model were high.