Networking Management Affecting The Private School Effectiveness In Khon Kaen Province

Main Article Content

Sineenard Chamat
Dawruwan Thawinkarn

Abstract

การวิจัยในครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการเครือข่ายที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน 2) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเครือข่ายโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดขอนแก่น  3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเครือข่ายที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 123 คน ครู จำนวน 291 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 414 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การบริหารจัดการเครือข่าย มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตอนที่ 3 ประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


             ผลการวิจัยพบว่า


              1) ระดับการบริหารจัดการเครือข่ายโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” เมื่อนำมาเรียงลำดับ พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม มีการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาเป็นด้านการแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน ด้านมีวัฒนธรรมเครือข่าย และด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรตามลำดับ และระดับประสิทธิผลโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมและรายด้านเมื่อนำมาเรียงลำดับ  พบว่า ด้านความสามารถในการปรับตัว มีการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาเป็นด้านทัศนคติเชิงบวกของนักเรียน ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม และด้านความพึงพอใจในผลสำเร็จของงานตามลำดับ


              2) องค์ประกอบการบริหารจัดการเครือข่ายโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดขอนแก่น พบว่าองค์ประกอบการบริหารจัดการเครือข่ายทั้ง 4 องค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value < .01) และมีขนาดความสัมพันธ์อยู่ ระหว่าง 0.294 ถึง 0.873 โดยองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันสูงที่สุด คือ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้สวัสดิการครู  อยู่ในด้านความพึงพอใจ มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.873 รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเกี่ยวกับกิจกรรมของชมรมในโรงเรียน และ ผู้บริหารและครูมีการเชิญปราชญ์ชาวบ้านเข้ามาเป็นวิทยากรในการเรียน มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (rxy) เท่ากับ 0.866 ส่วนองค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุด คือ ความพึงพอใจเกี่ยวกับการมอบหมายงานตามความถนัด ตามความสามารถของบุคลากร และ ผู้บริหารมีการวางแผนดำเนินการและนำลงสู่การปฏิบัติตามแผนให้เป็นไปตามนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ (r ) เท่ากับ 0.294  


              3) การบริหารจัดการเครือข่ายส่งผลต่อประสิทฺธิผลของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทาง  สถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ด้านการแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน และด้านการมีวัฒนธรรมเครือข่าย โดยเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้                                 


สมการในรูปคะแนนดิบ


            gif.latex?\hat{Y}    = 0.78+0.58(X4) + 0.20 (X2)


            สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


            gif.latex?\hat{Z}   = 0.51(X4) + 0.20(X2)

Article Details

How to Cite
[1]
S. . Chamat and D. Thawinkarn, “Networking Management Affecting The Private School Effectiveness In Khon Kaen Province”, EDGKKUJ, vol. 12, no. 2, pp. 102–114, Jun. 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). โฉมหน้าของโลกใหม่เตรียมความพร้อมประเทศไทยสู่ ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วิทยาการจัดการปริทรรศน์.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2555). การวิจัยทางการศึกษา: วิจัยสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชิตพล สุวรรณผา และ ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ด้านผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. รายงานการวิจัยสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นคร ตังคะพิภพ และคณะ. (2557). รายงานการติดตามประเมินและสนับสนุนโครงการทุนครูสอนดี. สำนักงานสร้างเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ (สสค.).

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่ายความรู้และการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อชุมชน (สรส.).

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2555). การศึกษาที่ฟังเสียงประชาชน ในการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนการศึกษาฐานรากทางเลือกประเทศไทย. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). เพื่อความเป็นเลิศของการครุศึกษาไทย กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). รายงานการวิจัยรูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2539). เทคนิคการฝึกอบรม. ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ ประสานมิตร.

วิเชียร ยอดจักร์.(2555). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ ประสานมิตร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน: การพัฒนาและการตรวจสอบความตรงของตัวแบบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรศักดิ์ ขจรเรือง. (2556). วิสัยทัศน์ขององค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒน์ ธรรมสุนทร. (2555). การเรียนรู้แหล่งเรียนรู้เครือข่ายการเรียนรู้ .สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 จากhttp://teacher80std.blogspot.com

สมคิด บางโม.(2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมใจ ลักษณะ. (2542). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนา สู่ “ครูมืออาชีพ “ ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ), การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สมาคมเครือข่าย การพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552 – 2561). กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิค.

Bergeson. (2007). Leadership Theory Competencies. New York: Macmillan.

Caldwell, B. J. and Spinks, J. M. (1990). The Self-Managing School: Administrative Science Quarterly. London: Taylor and Francis (Mimeographed).

Gretchen Rossman , H. D Corbett and W. A Firestone. (1988) Change and Effectiveness in Schools: A Cultural Perspective. New York: University of Massachusetts – Amherst.

Austin G. E., Reynolds D..1 (1990). “School Organization”. Human Resource. Management Review. 26(1), 167-178.

Hakansson and Ford. (2002). Developing relationships in business networks. New York: Londres Routledge.

Hoy , W. K. and Ferguson. (1985). “Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School”. Educational Administration. Quarterly, 21(2), 121-122.