The Effect of Activities Base on Contemplative Education on Serenity of New Staffs in Khon Kaen Rajanakarindra Psychiatric Hospital
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาต่อความสงบทางจิตใจของบุคลากรใหม่ในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรใหม่ที่เข้าปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 - 31 สิงหาคม 2558 สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม และเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 50 จำนวน 6 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาต่อความสงบทางจิตใจ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความสงบของพีรเทพ รุ่งคุณากร (2556) โดยผู้วิจัยหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ 0.89 และแบบบันทึกอนุทิน (Journal Writing) รวมทั้งโปรแกรมกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสงบทางจิตใจ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมและวัตถุประสงค์เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความสงบก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามีคะแนนความสงบทางจิตใจสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และผลจากแบบบันทึกอนุทิน พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามีการพัฒนาความสงบทางจิตใจมากขึ้น สามารถอยู่กับปัจจุบัน เป็นอิสระจากความคาดหวัง มีความตั้งมั่นทางจิตใจ ไม่ว่อกแว่กต่อสิ่งเร้าภายนอกเหมือนก่อน และสามารถพัฒนาสมรรถนะทางจิตใจ ถึงระดับการปล่อยวางได้มากขึ้น