The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory Emphasizing Polya’s Problem-Solving Processes On Probability for Mathayomsuksa 5

Main Article Content

วรรณชนก อ้วนพรมมา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกัลยาณวัตร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 15 ห้องเรียน จำนวน 713 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ คือ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาเรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสรุปเป็นความเรียง


ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ และทบทวนความรู้ 2) ขั้นสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา 4 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย (1) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล (2) ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย เป็นขั้นตอนที่นักเรียนรวมกลุ่มเพื่ออภิปรายแสดงความคิดเห็นและนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองต่อกลุ่มร่วมกันอธิบาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (3) ขั้นไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อยต่อทั้งชั้น เป็นขั้นที่นักเรียนนำเสนอคำตอบหน้าชั้น สมาชิกในชั้นแสดงความคิดเห็น ซักถาม ตรวจสอบความถูกต้อง และสรุปวิธีการแก้ปัญหาที่ทุกคนเห็นว่าเหมาะสมที่สุด 3) ขั้นสรุป นักเรียนร่วมกันสรุปหลักการ กระบวนการแก้ปัญหา ครูช่วยเสริมแนวคิด หลักการความคิดรวบยอด และกระบวนการแก้ปัญหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 4) ขั้นฝึกทักษะ 5) ขั้นประเมินผล ใช้การสังเกตการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน การตรวจผลงาน และทดสอบท้ายวงจร
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ความน่าจะเป็น มีคะแนนเฉลี่ย 15.29 คิดเป็นร้อยละ 76.45 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ 43 คน จากนักเรียนทั้งหมด 51 คน คิดเป็นร้อยละ 84.31
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา คิดเป็นร้อยละ 75.70 แสดงว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับดี

Article Details

How to Cite
[1]
อ้วนพรมมา ว., “The Development of Mathematics Learning Activities Based on Constructivist Theory Emphasizing Polya’s Problem-Solving Processes On Probability for Mathayomsuksa 5”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 4, pp. 154–166, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)