Need Assessment Toward the Using of Administrative Resource of Inclusive Learning School Under the Office of Secondary Educational Service Area 25
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องจำเป็นในการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมจำนวน 55 แห่ง จำนวน 2,691 คน กำหนดขนาดและกลุ่มตัวอย่างจากตารางเปรียบเทียบสัดส่วนของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 343 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) จากประชากรเพื่อให้ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็นโดยวิธีการ Modified Priority Needs Index (PNI modified) ขั้นตอนที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ
จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอด้วยวิธีการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมมีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลำดับที่ 1 คือ ด้านงบประมาณ ลำดับที่ 2 ด้านการจัดการ ลำดับที่ 3 คือ ด้านบุคลากร และด้านที่ 4 คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกแนวทางในการพัฒนาความต้องการจำเป็นในการใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากร พบว่าโรงเรียนควรดำเนินการ ดังนี้ ประสานความร่วมมือกับศูนย์การศึกษาพิเศษเพื่อขอรับการสนับสนุนบุคลากรไปร่วมปฏิบัติงานยังโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม พัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรวมให้มีขีดความสามารถจัดการเรียนการสอน และทำหน้าที่พี่เลี้ยงดูแลคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแต่งตั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการกำหนดนโยบายในระดับโรงเรียนและรับผิดชอบการจัดการเรียนรวมอย่างชัดเจน ผู้บริหารควรดำเนินการ ดังนี้ สร้างความตระหนักและความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการในการจัดการเรียนรวมในโรงเรียน หน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการ ดังนี้ กำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมให้มีพี่เลี้ยงดูแลคนพิการในโรงเรียนรวมอย่างเหมาะ กำหนดอัตรากำลังและกำหนดค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรให้เหมาะสม 2) ด้านงบประมาณ พบว่าโรงเรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ วิเคราะห์นโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ จัดสรรงบประมาณ เพื่อให้การดำเนินงานด้านงบประมาณเพื่อการจัดการเรียนรวมมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม จัดให้มีคณะกรรมการจัดทำแผนงานงบประมาณสร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ผู้ปกครอง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรการกุศล 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า โรงเรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ จัดทำระบบสารสนเทศผู้เรียนให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการยืมวัสดุสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักเรียน ติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าถึงและใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้สะดวกและปลอดภัย จัดห้องเรียนพิเศษในลักษณะห้องเสริมวิชาการให้กับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์สื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างถูกต้อง สำหรับผู้บริหารควรให้ความสำคัญและจัดหางบประมาณเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 4) ด้านการจัดการ พบว่า โรงเรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ พัฒนาบุคลากรเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร การวัดและประเมินผลผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) และคัดกรองนักเรียนพร้อมทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับสภาพความต้องการพิเศษเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศูนย์การศึกษาพิเศษควรมีการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานด้านหลักสูตรเรียนรวมของแต่ละสถานศึกษา