The Effects of Spirtual Well-being Development on Grade 11 Students: A Case Study of Marie Vitthaya School, Nakhonratchasima Province

Main Article Content

สายสุดา คำสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีย์วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ที่มีคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณของนักเรียนระดับต่ำและต่ำมาก และสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 21 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 3 กลุ่มๆ ละ 5 คน และกลุ่มควบคุม 6 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมกระบวนการกลุ่ม โปรแกรมเทคนิคผ่อนคลาย และโปรแกรมกระบวนการกลุ่มร่วมกับเทคนิคผ่อนคลายหรือผสมผสาน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที จำนวน 12 ครั้ง สำหรับกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมใดๆ ได้เข้าเรียนตามชั้นเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดให้ตามปกติ


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.923 และโปรแกรมกระบวนการกลุ่ม โปรแกรมเทคนิคผ่อนคลาย และโปรแกรมกระบวนการกลุ่มร่วมกับเทคนิคผ่อนคลายหรือผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ The Wilcoxon Matched-paires Signed-Ranks Test และ The Kruskal-Wallis One-way Anova Test


ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เข้ารับการทดลองในโปรแกรมกระบวนการกลุ่ม โปรแกรมเทคนิคผ่อนคลาย โปรแกรมกระบวนการกลุ่มร่วมกับเทคนิคผ่อนคลายหรือผสมผสาน และนักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนความผาสุกทางจิตวิญญาณหลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติ ิที่ระดบั .05 และคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
[1]
คำสุข ส., “The Effects of Spirtual Well-being Development on Grade 11 Students: A Case Study of Marie Vitthaya School, Nakhonratchasima Province”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 3, pp. 245–254, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)