Academic Management Enhancing Students, Learning Skills in 21st Century of The Schools under The Office of Secondary Educational Service Area 24

Main Article Content

วนิดา วงศ์คำจันทร์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานของการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 24 จากโรงเรียน 55 โรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 116 คน ครูจำนวน 2,047 คน รวมทั้งสิ้น 2,163 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารจำนวน 18 คน ครูจำนวน 309 คน รวมทั้งสิ้น 327 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) แบบ Two-stage Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ระยะที่ 1 เป็นแบบสอบถามการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยง (Reliability)
เท่ากับ 0.97 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและระยะที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อใช้สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกของผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอการวิจัยในรูปแบบรายงานเชิงบรรยาย


ผลการศึกษา
1. สภาพการดำเนินงานของการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวางแผนด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
2. แนวทางการบริหารวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ทั้ง 7 ด้าน มีแนวทางดังนี้ 1) ด้านการวางแผนด้านวิชาการ ควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน โดยยึดนโยบายของรัฐและยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาเป็นสำคัญ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาควรมีการวิเคราะห์หลักสูตรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ให้สอดคล้องกับนโยบายและตรงตามศักยภาพของผู้เรียน สำรวจความต้องการจากผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้ได้หลักสูตรที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น 3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูควรทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดความสมดุลทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ มีเจตคติที่ดีและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 4) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน สถานศึกษา ควรมีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลายมีความเที่ยงตรงและครอบคลุมทุกด้าน สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ 5) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 และสถานศึกษาควรให้การสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ครูผู้สอนต้องมีความมุ่งมั่นในการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิผล 6) ด้านการนิเทศการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารและครู ควรร่วมมือกันสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้สถานศึกษาควรจัดทำตัวชี้วัดวามสำเร็จในการดำเนินงาน วางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา มีวิธีการนิเทศอย่างเป็นขั้นตอน นำผลการนิเทศมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 7) ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ สถานศึกษาควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความทันสมัย และมีความหลากหลาย

Article Details

How to Cite
[1]
วงศ์คำจันทร์ ว., “Academic Management Enhancing Students, Learning Skills in 21st Century of The Schools under The Office of Secondary Educational Service Area 24”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 3, pp. 224–233, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)