Teachers Empowerment in Schools under The Office of Khon Kaen Primary Education Service Area 1

Main Article Content

ลำไพพัชร สีจันทร์ฮด

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน และ 2) ศึกษาวิธีการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงบรรยาย (Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 162 โรงเรียน จำนวน 1,710 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 429 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่มีคุณภาพด้านความตรงและความเที่ยงตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์คือเป็นโรงเรียนที่มีการบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับในเชิงประจักษ์ และโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอการวิจัยในรูปแบบรายงานเชิงบรรยาย


ผลการวิจัย
1. การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับ “มาก” เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกรายการ โดยเรียงลำดับดังนี้ 1) ด้านการสร้างบรรยากาศในองค์กร 2) ด้านการสร้างทีมงาน 3) ด้านสร้างภาวะผู้นำให้กับผู้ปฏิบัติงาน 4) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในองค์กร 5) ด้านการให้แรงจูงใจกับผู้ปฏิบัติงาน
2. วิธีการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 มีดังนี้ ด้านการสร้างบรรยากาศในองค์กร ได้แก่ 1) การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2) ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน 3) จัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน 4) ครูได้รับสิทธิอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ด้านการสร้างทีมงาน ได้แก่ 1) ผู้บริหารส่งเสริมให้มีการทำงานเป็นทีม 2) ครูร่วมกันแสวงหาวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย 3) ส่งเสริมให้ทีมงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ข่าวสารให้กันและกัน ด้านสร้างภาวะผู้นำให้กับผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) ผู้บริหารเป็นแบบอย่างในการทำงานและการปฏิบัติตน 2) ส่งเสริมให้ครูเป็นผู้นำในการดำเนินงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ 3) ครูมีโอกาสได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานจนประสบความสำเร็จ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในองค์กร ได้แก่ 1) ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและเป้าหมายการทำงานของโรงเรียน 2) เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการทำงาน
3) ครูมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมด้านการให้แรงจูงใจกับผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ 1) การกระตุ้นให้ครูมีความขยันมุ่งมั่นในการทำงาน 2) ส่งเสริมให้ครูแสดงออกถึงความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ 3) ส่งเสริมเข้าร่วมอบรมสัมมนาวิชาการเพื่อความก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพ และ 4) การยกย่องชมเชยครูจากผลงาน

Article Details

How to Cite
[1]
สีจันทร์ฮด ล., “Teachers Empowerment in Schools under The Office of Khon Kaen Primary Education Service Area 1”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 3, pp. 216–223, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)