Factors Affecting Learning Information Technology of High School Students under The Office of Secondary Educational Service Area 26

Main Article Content

เยาวลักษณ์ นพนิยม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุและการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุและการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน 3) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนเมื่อมีการควบคุมปัจจัยสิ่งเร้าภายในของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 377 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.6 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.877 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยพหุคูณแบบลำดับชั้น


ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยเชิงสาเหตุการเรียนรู้ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด คือ ด้านปัจจัยที่เกิดจากครอบครัว ส่วนการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด คือ ด้านการตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
2. การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กันทางบวก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01
3. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของนักเรียน (X1) ปัจจัยด้านลักษณะนิสัยของนักเรียน (X2) และปัจจัยที่เกิดจากครู (X5) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.525 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ ร้อยละ 27.6 เขียนเป็นสมการได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 2.202 + 0.045X1 + 0.569X2 + (-0.123)X5
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.033X1 + 0.524X2 + (-0.111)X5

Article Details

How to Cite
[1]
นพนิยม เ., “Factors Affecting Learning Information Technology of High School Students under The Office of Secondary Educational Service Area 26”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 3, pp. 186–195, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)