Effective Leadership of School Administrators Affecting Teacher Empowerment under the Office of Secondary Educational Service Area 25
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาและการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรมแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธีถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise MultipleRegression Analysis) เพื่อหารูปแบบที่ดีที่สุด
ผลการวิจัย พบว่า
1) ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษากับการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กับการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครูมีความสัมพันธ์สูงสุด (r = 0.706) 4) ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวทำนายการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู คือ 1) ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (X2) 2) ด้านการบริหารที่มีประสิทธิผล (X4) และ 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการอุทิศตนต่อการทำงาน (X1) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.73 ร่วมกันพยากรณ์การเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานของครู ร้อยละ 53.00 (R2 = 0.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized Score)
Y=2.143+0.144(X2)+0.219(X4)+0.149(X1)
สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)
Z=0.213(Zx2)+0.36(Zx4)+0.229(Zx1)