การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการคิดแก้ปัญหาผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo

Main Article Content

ชลธิช ณ ลำปาง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหาผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา ผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo 3) เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา ผ่านสังคมเครือข่ายEdmodo และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหาผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนในช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชัยภูมิเขต 30 ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียน ที่ 1 ที่กำลังเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี จำนวนนักเรียน 36 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการคิดแก้ปัญหา 2) สื่อวีดิทัศน์ วิชาการเขียนโปรแกรมภาษาซี เรื่อง การใช้คำสั่งควบคุมแบบทางเลือก และการใช้คำสั่งควบคุมแบบวนซ้ำ และเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการเขียนโปรแกรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา ผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ค่าที (t-test แบบ Dependent)


ผลการวิจัย พบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา และสื่อวีดิทัศน์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.96 และ 4.88 ตามลำดับ
2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา ผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ผลคะแนนทักษะการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการคิดแก้ปัญหา ผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 74.58
4) ความคิดเห็นของผู้เรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา ผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo พบว่า ผู้เรียนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.84

Article Details

How to Cite
[1]
ณ ลำปาง ช., “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการคิดแก้ปัญหาผ่านสังคมเครือข่าย Edmodo”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 3, pp. 48–58, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)