ปัจจัยพหุระดับด้านนวัตกรรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21

Main Article Content

คุณาธิป จำปานิล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาระดับปัจจัยด้านนวัตกรรมขององค์การและบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ศึกษาผลของปัจจัยด้านนวัตกรรมระดับองค์การและบุคคลที่มีต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ทั้งหมด 84 โรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลระดับองค์การ (Macro level) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 84 คน และกลุ่มตัวอย่างระดับบุคคล (Micro level) ประกอบด้วยครู จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ฉบับ สำหรับระดับองค์การ 1 ฉบับและระดับบุคคล 2 ฉบับโดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าอิทธิพลของปัจจัย 2 ระดับ ด้วยโปรแกรม SPSS for Window และวิธีการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่นเพื่อหาค่าสถิติเชิงอ้างอิง โดยใช้โปรแกรม HLM for Window ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ครูมีสมรรถนะสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ การจัดชั้นเรียนเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) ระดับปัจจัยด้านนวัตกรรมขององค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์การ เมื่อพิจารณารายด้านระดับบุคคล พบว่า ระดับปัจจัยด้านนวัตกรรมที่มีสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านการทำงานเป็นทีม การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน และการจัดการความรู้ตามลำดับ ส่วนในระดับองค์การ พบว่า ระดับปัจจัยด้านนวัตกรรมที่มีค่าสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านผู้นำมีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้านวัฒนธรรม ค่านิยม และบรรยากาศการทำงานและด้านโครงสร้างองค์การ ตามลำดับ 3) ปัจจัยด้านนวัตกรรมระดับองค์การที่มีต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 ไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปัจจัยในระดับองค์การสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 24.24 ส่วนปัจจัยด้านนวัตกรรมระดับบุคคลที่มีต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 พบว่าส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การจัดการความรู้ การให้รางวัลและการยอมรับ และส่งผลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การฝึกอบรมและพัฒนา ปัจจัยด้านนวัตกรรมระดับบุคคลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามได้ร้อยละ 34.50 ทั้งนี้ปัจจัยด้านนวัตกรรมระดับองค์การมีค่า R2 เท่ากับ 0.242 และปัจจัยด้านนวัตกรรมระดับบุคคลมีค่า R2 เท่ากับ 0.345

Article Details

How to Cite
[1]
จำปานิล ค., “ปัจจัยพหุระดับด้านนวัตกรรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21”, EDGKKUJ, vol. 11, no. 3, pp. 25–35, May 2018.
Section
บทความวิจัย (Research article)