ผลของการละเล่นพื้นเมืองไทยประยุกต์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและดัชนีมวลกายของนักเรียนที่มีภาวะนํ้าหนักเกินของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) ศึกษาผลของการละเล่นพื้นเมืองไทยประยุกต์ที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย และดัชนีมวลกายของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้การละเล่นพื้นเมืองไทยประยุกต์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 20 คน เป็นนักเรียนชาย 10 คน นักเรียนหญิง 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับเด็กไทย อายุ 7–18 ปี ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองไทยประยุกต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าสถิติที (t-test)
ผลการวิจัย
1. กิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองไทยประยุกต์ พบว่ารูปแบบการการละเล่นพื้นเมืองไทยประยุกต์ 5 กิจกรรมประกอบด้วย 1) ยักษ์ใหญ่ไล่ยักษ์เล็ก 2) หนอนตัวเลข 3) ซิกแซกช้อนมะนาว 4) วิ่งรวมใจ 5) กระสอบพาสนุก มีความเหมาะสมมากในการนำไปเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ซึ่งผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย พบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน ในรายการดัชนีมวลกาย ลุก – นั่ง 60 วินาที ดันพื้น 30 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้าวิ่งอ้อมหลักและวิ่งระยะไกล หลังเข้าร่วมกิจกรรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นพื้นเมืองไทย ในระดับมากที่สุด